ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดจํานวนหนึ่งจะไม่ปรากฏอาการแต่อย่างใด
(silent
myocardial ischemia or silent
myocardial infarction) ซึ่งจะพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะได้รับการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดโดยบังเอิญจาก
การตรวจร่างกายประจําปีเช่นจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดมีอาการเจ็บเค้นอกที่เป็น ลักษณะเฉพาะ (Typical
angina pectoris) ตรงตามตําราโดยสมบูรณ์เพียงประมาณร้อยละ 30 ดังนั้นจึงควรพยายามหา
หลักฐานการวินิจฉัยโรคนี้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่มาด้วยอาการที่ไม่ชัดเจนด้วย
อาการนําที่สําคัญของโรคหัวใจขาดเลือดที่ทําให้ผู้ป่วย
มาพบแพทย์มีดังนี้
1. กลุ่มอาการเจ็บเค้นอก
2. เหนื่อยง่ายขณะออกแรง
3. กลุ่มอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
4. อาการเนื่องจากความดันโลหิตต่ําเฉียบพลัน
5. อาการหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น
1. กลุ่มอาการเจ็บเค้นอก (angina
pectoris)
ประกอบไปด้วย
อาการเจ็บแน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก หรือปวดเมื่อยหัวไหล่หรือปวดกราม
หรือจุกบริเวณลิ้นปี่ เป็น มากขณะออกกําลัง
ซึ่งอาการเจ็บเค้นอกที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บหนัก ๆ
เหมือนมีอะไรมาทับหรือ รัดบริเวณกลางหน้าอกใต้กระดูก sternum
อาจมีร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2
ข้างโดยเฉพาะข้างซ้าย เป็นมากขณะ ออกกําลังเป็นนานครั้งละ 2-3 นาที เมื่อนั่งพักหรืออมยา nitroglycerin อาการจะทุเลาลง
คําาแนะนําาสําาหรับการวินิจฉัยโรค
1. อาจวินิจฉัยได้จากประวัติ
ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเค้นอกที่มีลักษณะเฉพาะ โดยยืนยันการวินิจฉัยจากคลื่นไฟฟ้า
หัวใจของผู้ป่วยขณะมีอาการเทียบกับขณะที่ไม่มีอาการ
การดูลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะพักเพียงอย่างเดียวอาจ ไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค
(ความไวในการวินิจฉัยโรคจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีเพียงร้อยละ 50) หากยังสงสัยโรคหัวใจ ขาดเลือดให้พิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกําลังกาย (exercise stress test)
เป็นต้น
2. ควรทําการวินิจฉัยแยกโรค
ในผู้ป่วยที่มีอาการต่างไปจากลักษณะเฉพาะของอาการเจ็บเค้นอกที่กล่าวข้างต้น
โรคที่ให้ อาการคล้ายคลึงกันเช่น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่แทรกเซาะ (aortic
dissection) โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคลิ่ม
เลือดอุดตันในปอดเฉียบพลัน (acute pulmonary embolism) โรคกระเพาะ
โรคกล้ามเนื้อหรือกระดูกอักเสบ บริเวณหน้าอก โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคถุงน้ําดีอักเสบ ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ โรคงูสวัด โรคจิตประสาทซึ่ง
ควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยแยกโรค
หากไม่แน่ใจให้พิจารณาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ต้องรีบตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ตรวจทางห้องปฏิบัติเพิ่มเติมที่จําเป็น และให้การรักษาเบื้องต้นตามสภาพ
ผู้ป่วยทันที
พร้อมทั้งให้การรักษาเฉพาะหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อมโดยเร็วที่สุด
3. ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ํา
เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรค ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหัวใจขาด
เลือดเฉียบพลัน และควรตรวจ troponin ในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม
เพื่อช่วยตัดสินใจให้ผู้ป่วยกลับบ้านหรือ อยู่สังเกตอาการต่อ
โดยหากผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บเค้นอกและผลการตรวจ troponin ได้ผลลบติดต่อกัน
2 ครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมง หรือ 1 ครั้งหากตรวจหลังจากเจ็บเค้นอกเกิน 9 ชั่วโมง
สามารถให้การรักษาและนัดตรวจติดตาม ผลแบบผู้ป่วยนอกได้
4.
อาจสงสัยว่าอาการเจ็บเค้นอกนั้นมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจขาดเลือด
ในผู้ป่วยมีอาการเจ็บเค้นอกและเคยได้รับการ
ตรวจพิเศษทางระบบหัวใจที่มีความแม่นยําในการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด เช่น
การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (coronary angiography) แสดงการตีบของหลอดเลือดที่มากกว่าร้อยละ
50 ของเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 1 แห่ง
หรือพบลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนของหัวใจ (echocardiography)
หรือ เคยได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือด (percutaneous
coronary intervention) หรือ การผ่าตัดทางเบี่ยง หลอดเลือดหัวใจ (coronary
artery bypass graft surgery) มาก่อน
แต่อย่างไรก็ตามควรทําการวินิจฉัยแยก โรคจากอาการเจ็บเค้นอกตามที่กล่าวในข้อ 2
ไว้ด้วย
คําแนะนําสําหรับการรักษาเบื้องต้น
แบ่งตามความรุนแรงของโรคได้ 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตทั่วไป (intensive
care unit, ICU) หรือ หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary
care unit, CCU) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ
1.1 กลุ่ม non-ST elevation acute
coronary syndrome ได้แก่ non-ST elevation myocardial
infarction และ unstable angina มีแนวทางการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้นดังนี้
1) ต้องรักษาโดยการให้ aspirin
ทุกราย เว้นแต่มีข้อห้ามอาจใช้ยาในกลุ่ม thienopyridine แทน และอาจพิจารณาให้ ยากลุ่ม thienopyridine ร่วมกับ
aspirin เนื่องจากมีหลักฐานการวิจัยทางคลินิกสนับสนุนว่าการให้
clopidogrel ร่วมกับ aspirin ทําให้การพยากรณ์โรคดีขึ้น
แต่อาจมีโอกาสเกิดเลือดออกผิดปกติเพิ่มขึ้น
2) ควรได้รับยา unfractionated heparin
หรือ low molecular weight heparin เป็นเวลา
3-5 วัน และยา บรรเทาอาการเจ็บเค้นอก (antianginal drugs) ได้แก่
nitrates, beta-blockers แต่ไม่ควรใช้ short acting
dihydropyridine calcium channel blockers
3) ควรพิจารณาให้ยากลุ่ม narcotics
หรือ analgesics ในรายจําเป็นตามข้อบ่งชี้
4)
ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของอาการทางคลินิกและคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นระยะ
หากอาการเจ็บเค้นอกไม่ทุเลาหรือ เป็นซ้ําหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น
ช็อกเหตุหัวใจ (cardiogenic shock), ภาวะหัวใจล้มเหลวที่รุนแรง,
หัว ใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ควรพิจารณาขยายหลอดเลือดหัวใจ
หรือส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อม 1.2 กลุ่ม ST-elevation acute
coronary syndrome (ST-elevation myocardial infarction) มีแนวทางการรักษา
ผู้ป่วยเบื้องต้นดังนี้
1)
ต้องรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านเกล็ดเลือดทุกรายในทํานองเดียวกันกับข้อ 1.1
2) ต้องรักษาผู้ป่วยด้วยยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic
agent) หรือต้องทําการการขยายหลอดเลือดหัวใจชนิด ปฐมภูมิ (primary
percutaneous transluminal coronary angioplasty, primary PTCA) ใน
สถานพยาบาลที่มีความพร้อม หากไม่พบข้อห้าม
เป้าหมายสําคัญ คือ
ต้องเปิดหลอดเลือดที่ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจตายภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากมีอาการเจ็บ
เค้นอก หรือ อย่างช้าไม่เกิน 12 ชั่วโมง ในกรณีที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลเกิน 12
ชั่วโมง อาจไม่จําเป็นต้องเปิด
หลอดเลือดทันทีเพราะไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ประโยชน์
อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บเค้นอกอยู่อาจ
พิจารณาขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิหรือส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อมโดยเร็วที่สุด
3) กลุ่มภาวะเจ็บเค้นอกคงที่
ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้โดยมีแนวทางการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้นดังนี้
1) ควรให้ยาต้านเกล็ดเลือด ร่วมกับการปรับให้เกิดความสมดุลระหว่าง Oxygen
demand และ Supply ของ กล้ามเนื้อหัวใจ
ได้แก่การให้ยาบรรเทาอาการเจ็บเค้นอก การลดความดันในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง,
การควบคุม น้ําหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน, การให้คําแนะนําในการออกกําลังในระดับที่เหมาะสม
เพื่อควบคุมอาการเจ็บเค้นอก 2) อาจพิจารณาส่งตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกําลังกาย
เพื่อแยกระดับความรุนแรงของโรค ในผู้ป่วยที่ควบคุม
อาการได้ไม่ดีเท่าที่ควรด้วยวิธีข้างต้น
หรือสงสัยว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ
ควรพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยเพื่อถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือดหัวใจในกรณีที่ผลการทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออก
กําลังกายผิดปกติในระดับรุนแรง ซึ่งบ่งถึงการทํานายโรคที่ไม่ดี
4)
ควรให้การรักษาตามแนวทางป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแบบทุติยภูมิ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น