วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ผลกระทบในการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์มากจนเกินไป


ผลกระทบและปัญหาที่เกิดจากการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

เป็นที่ปรากฏนั้นมี 4 ด้าน คือ 1. ด้านสุขภาพ

ต่อไปนี้

2. ด้านจิตใจ

3. ด้านสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยา

4. ด้านเศรษฐกิจ

ปัญหาทั้ง 4 ด้านเป็นเหตุผลของการลดหรือการละเว้นอาหารเนื้อสัตว์ ดังรายละเอียดด้านสุขภาพ

ในหลายประเทศทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กําลังพัฒนา มีการระบาด ของ โรคไม่ติดต่อแต่เรื้อรัง (chronic diseases) และร้ายแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคมะเร็งหลายชนิด และกลุ่มโรคทางเมตะบอลิสม์ (metabolic syndrome) ซึ่งได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นต้น ทําให้คนอเมริกันสามในสี่ตาย ด้วยโรคใดโรคหนึ่งดังกล่าวเป็นประจําทุกปี

สาเหตุหลักที่สําคัญของการระบาดกลุ่มโรคเมตะบอลิสม์ในประชากรมีสองสาเหตุ คือ เกิดจากการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์มากจนเกินความจําเป็นของร่างกายทําให้

สุขภาพเสื่อมและเสี่ยงต่อการเกิดโรค และการบริโภคอาหารจากพืชผักผลไม้ในปริมาณที่ไม่มาก

เพียงพอ จึงทําให้ขาดสารสําคัญทางชีวภาพที่ป้องกันการเกิดโรคและช่วยให้สุขภาพแข็งแรง อาหารเนื้อสัตว์มีปริมาณของสารไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง การเลี้ยงดูแลสัตว์ ในฟาร์มมักจะใช้สารเคมีหลายชนิด จึงอาจมีสารเคมีตกค้าง ผู้ที่บริโภคอาหารเนื้อสัตว์จะมีโอกาส ได้รับสารเคมีที่ใช้ปรุงแต่งอาหาร เช่น ไนเตรท ไนไตรท์ สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งการเติบโต ยาปฏิชีวนะ สารกระตุ้นการเจริญอาหาร ยากล่อมประสาท ฯลฯ รวมทั้งยาฆ่าแมลงเหลือสะสม ในไขมันสัตว์ สารพิษตกค้างเหล่านี้อาจก่อมะเร็งได้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (อ่านรายละเอียด เพิ่มเติมในบทที่ 2 เรื่อง อาหารแมคโครไบโอติก และบทที่ 12 เรื่อง อาหารปลอดจากสารพิษ) นอกจากนี้ การระบาดของโรคไม่ติดต่อแต่เรื้อรังยังเกิดจากการกินอาหารเนื้อสัตว์ ตามนิสัยส่วนตัว ตามอาชีพ ตามฐานะรายได้ และตามกระแสความนิยม ซึ่งเราจะมีอาหาร ไทย-จีนประเภทเนื้อสัตว์และไขมันสูงที่มีจําหน่ายอยู่ในร้านอาหารทั่วไปในประเทศไทยมานานแล้ว เช่น อาหารที่เป็นเนื้อทอด ปิ้ง-ย่าง อาหารจานเดียวที่เป็นข้าวขาหมู หมูพะโล้ ข้าวมันไก่ และ

ข้าวหน้าเป็ด เป็นต้น ในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ มีบริษัทใหญ่ๆ จากนอกประเทศได้รณรงค์

และโฆษณาชักชวนคนรุ่นใหม่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้บริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์และไขมันสูง

นม เนย และไข่ เพิ่มมากขึ้น โดยสร้างกระแสนิยมอาหารใหม่ดังกล่าวในทุกรูปแบบและรสชาติ ทั้งอาหารคาว-หวาน เช่น อาหารสําเร็จรูป อาหารจานด่วน (fast foods) ไก่ทอด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก พิซซ่า เนื้อเกาหลี หมูกะทะ โดนัท และไอศกรีม เป็นต้น ทําให้ คนรุ่นใหม่สนใจทดลองบริโภคและติดใจในรสชาติอาหารจนเป็นนิสัยชอบกินเป็นประจํา และด้วย สาเหตุนี้ ทําให้มีการกินอาหารเนื้อสัตว์มากขึ้นในประเทศไทยเป็นเงาตามตัว (อ่านรายละเอียด เพิ่มเติมในบทที่ 1 เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ)

มีงานวิจัยและระบาดวิทยามากมายในต่างประเทศ 7. 78 ได้ยืนยันว่าการบริโภคอาหาร สําเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมและอาหารจานด่วนดังกล่าว

ซึ่งเปรียบเทียบว่า เป็นอาหารขยะ (junk foods) ซึ่งขาดคุณสมบัติทางโภชนาการที่ดี มีแป้ง น้ําตาล ไขมัน และ โปรตีนมากเกิน แต่ขาดเส้นใยอาหาร วิตามิน และสารสําคัญทางชีวภาพอื่นๆ จะทําให้คน บริโภคอาหารดังกล่าวเป็นประจําเสี่ยงเป็นโรคอ้วนและโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น จนโรคมะเร็งและโรคหัวใจและหลอดเลือดกลายเป็นสาเหตุสําคัญอันดับที่ 1 ของการตายในประชากรหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทยได้มีการอภิปรายปัญหาและความวิตกกังวลในวงการขององค์กรและกลุ่มวิจัย

ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านอาหารและพฤติกรรมในการบริโภคของประชากรเช่นกัน จาก การสํารวจสุขภาพชาวเกาหลีในประชากรวัยรุ่น อายุระหว่าง 12-19 ปี ในปี ค.ศ.1998 (n = 1317) และ 2001 (n = 848) ใช้ตัวชี้วัดความอ้วนและความเสี่ยงในโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน และโดยวัดเส้นรอบเอว ความดันโลหิต ระดับไตรกลีเซอไรด์และไลโปโปรตีนในเลือด

และระดับน้ําตาลกลูโคสในเลือด พบว่า ตัวชี้วัดดังกล่าวมีแนวโน้มสูงมากขึ้นอย่างชัดเจน อัตรา เสี่ยงโรคอ้วนและโรคทางเมตะบอลิสม์เพิ่มมากขึ้น อัตราการเกิดโรคทางเมตะบอลิสม์ในวัยรุ่น



 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น