โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
และมีแนวโน้มว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะเพิ่มมากขึ้นทุกปีในทุกกลุ่มอายุของคนไทย
เป็นโรคที่มักพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่สิ่งที่ น่าวิตกมาก
คือปัจจุบันอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานน้อยลง อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ในเด็กเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 2
โดยสาเหตุใหญ่ของการเป็นเบาหวานเกิดจาก ปัญหาโรคอ้วน
ซึ่งมีผลมาจากวิถีการดํารงชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไป
ขาดการออกกําลังกายลดการทํากิจกรรมในชีวิตประจําวัน
และพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป โรคเบาหวานเป็นโรคที่สัมพันธ์กับอาหาร
อาหารจึงเป็นหัวใจสําคัญที่ช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเป็นสิ่งสําคัญในการดูแล
รักษาโรคเบาหวาน ดังนั้นโภชนาการจึงมีบทบาทสําคัญทั้งในการควบคุมระดับน้ําตาล
และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรเห็นความสําคัญของอาหารและโภชนาการ
มีการเรียนรู้ เกี่ยวกับแบบแผนการบริโภคอาหาร การเลือกอาหารทั้งคุณภาพและปริมาณ
สามารถดัดแปลง รายการอาหาร และปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
สามารถอ่านฉลาก โภชนาการและเลือกซื้ออาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
รวมทั้งสามารถดูแลตนเองได้ดี ซึ่งจะลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โภชนบําบัดทางการแพทย์
(Medical Nutrition Therapy : MNT) การรักษาโรคเบาหวานประกอบด้วย
1. การให้โภชนบําบัดทางการแพทย์ 2. การใช้ยา
3. การออกกําลังกาย และ 4. การให้ความรู้ด้านโภชนาการ
โภชนบําบัดทางการแพทย์เป็น
หลักการที่สําคัญและเป็นหลักการแรกในการป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน
รวมทั้งป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ซึ่งโภชนบําบัดทางการแพทย์มีความสําคัญ
เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน
คือการรักษาสมดุลของน้ําตาลในเลือดให้ ใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุด
ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดปกติของไขมันในเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตเรื้อรัง
ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของการให้โภชนบําบัดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงมุ่งเน้นให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับโภชนาการที่เหมาะสมกับภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล
ได้รับ ความรู้ในการปฏิบัติตัวด้านอาหารได้อย่างถูกต้อง สามารถประมาณปริมาณอาหาร
สามารถดัดแปลงและกําหนดแบบแผนการบริโภคอาหารของตนเองได้อย่างเหมาะสม จุดมุ่งหมายของการรักษาด้วยโภชนบําบัดทางการแพทย์สําหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
(pre-diabetes)
เพื่อลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือด หัวใจ
โดยส่งเสริมให้เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ร่วมกับการออกกําลังกาย
เพื่อลดน้ําหนักตัวให้ได้อย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมายของการรักษาด้วยโภชนบําบัดทางการแพทย์สําหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
1. เพื่อควบคุมและรักษา
-ระดับน้ําตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงกับระดับปกติเท่าที่จะทําได้
-ระดับไขมันในเลือดเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
-ระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงกับระดับปกติเท่าที่จะทําได้
2.
เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน
โดยการปรับการรับประทานอาหารและปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิต
2. เพื่อตระหนักถึงความต้องการด้านโภชนาการเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย
โดยคํานึงถึ ตัวบุคคล วัฒนธรรม ความต้องการ ความชอบ
และความเต็มใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3. เพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความสุขกับการรับประทานอาหาร
และหลีกเลี่ยงหรือจํากัดเฉพาะอาหารที่มีผลต่อโรคเบาหวาน
ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มี การที่จะวางแผนและให้โภชนบําบัดได้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแต่ละคนนั้น
ควรมีการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานก่อน รวมทั้งประเมิน
อาหารที่บริโภค เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการให้โภชนบําบัด และการให้คําปรึกษาแนะนํา
ต่อไป โดยรวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้
คาร์โบไฮเดรต
• รูปแบบและลักษณะของอาหารที่บริโภคตามปกติพลังงานที่ได้รับจากอาหารและการกระจายตัวของโปรตีน
ไขมัน และการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
• ปริมาณไขมันและชนิดของไขมันที่บริโภค
• ปริมาณใยอาหารที่บริโภค
• การบริโภคผัก ผลไม้ ข้าว-ธัญพืชที่ไม่ขัดสี
• การบริโภคถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้ง
การบริโภคน้ําตาลและปริมาณน้ําตาลที่บริโภค
อาหารกระป๋อง
• การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารเค็มจัด
อาหารหมักดอง อาหารสําเร็จรูป
• ความถี่ของการรับประทานอาหารนอกบ้าน
• การรับประทานวิตามินและเกลือแร่เสริม
• การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
• ประสิทธิภาพของการให้โภชนบําบัดทางการแพทย์
• ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน (pre-diabetes)
หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
ควรได้รับการดูแลด้านโภชนบําบัดทางการแพทย์ที่เหมาะสม และเฉพาะสําหรับแต่ละคน (individualized
MNT) ซึ่งเป็นบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงของนักกําหนดอาหาร
ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในการดูแลด้านโภชนาการและโภชนบําบัด (B)
• การให้ความรู้และคําแนะนําปรึกษาในด้านอาหารและโภชนาการแก่ผู้ที่มีความ
เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรให้เหมาะสม
ตรงกับความต้องการ ของผู้ป่วยแต่ละคน ผู้ป่วยมีความเต็มใจในการปรับเปลี่ยน
และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นั้นๆ ได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น