วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566

การควบคุมและดูแลรักษาสุขภาพของคนเป็นโรคเบาหวาน


1. อาหารคาร์โบไฮเดรตในการรักษาโรคเบาหวาน

•การจํากัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารน้อยกว่า 130 กรัมต่อวัน ไม่แนะนําในการรักษาโรคเบาหวาน (E)

• การติดตามประเมินการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต โดยใช้ วิธีการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate counting) และการใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยน (ภาคผนวก) ยังคงเป็นวิธีการหลักที่สําคัญที่ช่วยให้การควบคุมน้ําตาลได้ผลดี (A)การใช้อาหารที่มี glycemic index และ glycemic load จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นบ้าง ถ้าพิจารณาเฉพาะคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเพียงอย่างเดียว (B) ถ้าจะใช้อาหารที่มีน้ําตาล sucrose เป็นส่วนประกอบในแผนการรับประทานอาหารของผู้ที่เป็นเบาหวาน อาจใช้น้ําตาลแทนอาหารที่เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นได้และถ้ารับประทานน้ําตาลเพิ่มขึ้นอกเหนือจากแผนการรับประทานอาหารที่ได้กําหนดไว้ ควรปรับปริมาณอินซูลินที่ได้รับหรือยาที่รับประทานให้เพียงพอ และควรคํานึงถึงพลังงานที่อาจได้รับ มากเกินไปจากน้ําตาลด้วย (A)

• ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารให้หลากหลายเช่นเดียว กับคนปกติทั่วไป อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลเพียงพอที่จะแนะนําให้ผู้ที่เป็นโรค เบาหวานรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงกว่าคนปกติทั่วไป น้ําตาลแอลกอฮอล์และสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน (nonnutritive sweeteners) สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย

2. อาหารโปรตีนในการรักษาโรคเบาหวาน

ดังนั้นยังคงแนะนําให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีการทํางานของไตที่ยังปกติ ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ ที่จะแนะนําให้ลดปริมาณโปรตีนจากอาหารที่รับประทานตามปกติ รับประทานโปรตีนในปริมาณปกติคือ 15-20% ของพลังงานที่ได้รับ (E) ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับประทานโปรตีนไม่ทําให้ระดับของกลูโคส ในเลือดเพิ่มขึ้น แต่มีผลในการเพิ่มการตอบสนองของอินซูลินในเลือด ดังนั้นอาหารที่ให้โปรตีนจึงไม่ควรใช้ในการรักษาภาวะน้ําตาลต่ําเฉียบพลัน หรือป้องกันภาวะน้ําตาลต่ําในช่วงกลางคืน (A)

• อาหารที่มีโปรตีนสูงยังไม่แนะนําให้ใช้ในการลดน้ําหนักตัวในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากผลระยะยาวของการรับประทานโปรตีนมากกว่า 20% ของพลังงานที่ได้รับในการรักษา โรคเบาหวานและการเกิดภาวะแทรกซ้อนยังไม่ทราบแน่ชัด แม้ว่าการรับประทานโปรตีนสูง อาจช่วยลดน้ําหนักตัวได้ในระยะสั้นและทําให้คุมน้ําตาลได้ดีขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลที่บ่งถึงประโยชน์ ระยะยาวของการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

4. แอลกอฮอล์กับโรคเบาหวาน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์บ้าง ควรจํากัดการดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณปานกลางคือดื่มไม่เกิน 1 ดริ้งค์ต่อวันในผู้หญิง และไม่เกิน 2 ดริ้งค์ต่อวันในผู้ชาย (E): 1 ดริ้งค์ = ไวน์ 1 แก้ว (120 ซีซี), เบียร์ 1 ขวด (360 ซีซี), วิสกี้หรือเหล้า 1 ออนซ์ (30 ซีซี) เพื่อลดความเสี่ยงต่อการมีภาวะน้ําตาลต่ําในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ฉีดอินซูลินควรดื่มแอลกอฮอล์พร้อมอาหาร (E)

• ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ดื่มเฉพาะแอลกอฮอล์อย่างเดียวในปริมาณปานกลางจะไม่มี ผลทันทีต่อระดับน้ําตาลและอินซูลินแต่การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ (ใน mixed drink) อาจจะเพิ่มระดับน้ําตาลในเลือดได้ (B)

5. จุลสารอาหาร (Micronutrients) ในการรักษาโรคเบาหวาน ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนถึงประโยชน์ของการเสริมวิตามินและเกลือแร่ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่ได้มีการขาดสารอาหาร เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไป (A) การรับประทานวิตามินเสริมป็นประจําในกลุ่มของ antioxidants เช่น วิตามินอี วิตามินซี และแคโรทีน ยังไม่แนะนําให้รับประทานเสริม เนื่องจากยังขาดหลักฐานถึงประสิทธิผล และความปลอดภัยของการเสริมวิตามินเหล่านี้ในระยะยาว (A)

• ประโยชน์ของการรับประทานโครเมียมเสริมในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานยังไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงยังไม่แนะนําให้รับประทานโครเมียมเสริม (E)

6. โภชนบําบัดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรปรับอินซูลินให้เหมาะกับแผนการรับประทานอาหาร และการออกกําลังกายเฉพาะของแต่ละคน (E) ผู้ที่ใช้ rapid acting insulin โดยการฉีดหรือใช้อินซูลินปั้ม ควรปรับอินซูลินในมื้อ อาหารและอาหารว่างตามปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร (A) ผู้ที่ฉีดอินซูลิน fixed dose ทุกวัน ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตคงที่ในแต่ละวัน โดยปริมาณและเวลาที่รับประทานควรให้ใกล้เคียงกันทุกวัน (C)

• การออกกําลังกายที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ควรปรับปริมาณอินซูลินให้เหมาะสม กับชนิดของการออกกําลังกายและระดับน้ําตาล ถ้าออกกําลังกายโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน อาจต้องรับประทานคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น

7. โภชนบําบัดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิต โดยลดพลังงานจากอาหารที่รับประทานให้น้อยลง ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานซ์ คอเลสเตอรอล และโซเดียม รวมทั้งเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย/ออกกําลังกาย ซึ่งจะช่วยให้ ระดับน้ําตาล ไขมัน และความดันโลหิตดีขึ้น (E)

• การติดตามประเมินระดับน้ําตาลในเลือดจะเป็นสิ่งที่ใช้พิจารณาในการปรับอาหาร

และมื้ออาหารว่าเหมาะสมกับการควบคุมระดับน้ําตาลที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ หรืออาจจะต้อง ใช้ยาร่วมกับการใช้โภชนบําบัด (C)

ผู้สูงอายุที่อ้วนและเป็นโรคเบาหวาน การจํากัดพลังงานจากอาหารบ้างเล็กน้อย และการเพิ่มการเคลื่อนไหวและออกกําลังกาย อาจได้ประโยชน์ในการควบคุมน้ําหนักตัว (E) การเสริมวิตามินรวมทุกวัน อาจจะเหมาะสมในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารน้อยลง 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น