วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566

โรคหัวใจและหลอดเลือด


 

โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease-IHD หรือ coronary artery disease) รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease-CVD) และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) ประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรค หัวใจและหลอดเลือด คือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา และไม่ออกกําลังกาย ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้คือ กรรมพันธุ์ เพศ เผ่าพันธุ์ และอายุ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) คือ ระดับไขมัน ในเลือดที่มีคอเลสเตอรอลมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (มก./ดล) ระดับ HDL-cholesterol- C (HDL-C) หรือไขมันดี น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับ LDL-cholesterol-C (LDL-C) หรือไขมันเลว มากกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร ปัจจัยเสี่ยงNational Cholesterol Education Program: Expert Panel on Detection, Evalua- tion and Treatment of High Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III) ได้กล่าวถึง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งได้แก่

1. มีประวัติคนในครอบครัวที่มีการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดโดยเฉพาะผู้ชายที่มีญาติ เป็นโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่อายุน้อยกว่า 55 ปี และในญาติผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด เมื่ออายุน้อยกว่า 65 ปี

2. เพศ เพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า

3. อายุ ในเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงในวัยหมดประจําเดือน ตั้งแต่อายุ 55 ปี

4. สูบบุหรี่

5. มีไขมันในเลือดสูง HDL - Cholesterol น้อยกว่า 40 มก./ดล.

6. โรคความดันโลหิตสูง (140/90 มิลลิเมตรปรอท)

7. โรคเบาหวาน

8. โรคอ้วน

 9. โรคเครียด

10. ขาดการเคลื่อนไหวและการออกกําลังกาย

การป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง

1.จํากัดการรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่ให้เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด ที่ได้รับ หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในไขมันสัตว์ น้ํามันมะพร้าวและน้ํามันปาล์ม ลดปริมาณ อาหารที่มีสารคอเลสเตอรอลซึ่งพบในอาหารพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ ตับวัว ตับหมู อาหารทะเลหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยนางรม ปลาหมึก ไข่ปลา ฯลฯ มีข้อมูลจากงานวิจัย ที่ผ่านมาพบว่าระดับคอเลสเตอรอลในเลือดมีส่วนสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 200 มก./ดล. หรือมีระดับ LDL-C 130 มก./ดล. ต้องจํากัดอาหารประเภทน้ําตาล ขนมหวาน กะทิ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และออกกําลังกายสม่ําเสมอ และกรณี ที่คอเลสเตอรอลสูงและไตรกลีเซอไรด์สูง คือมี LDL-C และ VLDL สูง ต้องจํากัดการรับประทาน ไขมันอิ่มตัว (ไขมันสัตว์) ให้น้อยที่สุด ลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และควรลดอาหารประเภท แป้ง น้ําตาล ขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรรักษาอัตราส่วนของ HDL ต่อ LDL ให้พอเหมาะคือ 3 และไม่ควรเกิน 4

2.ควบคุมน้ําหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน นักวิจัยพบว่าภาวะน้ําหนักเกินและโรคอ้วน มีความสัมพันธ์กับ   คอเลสเตอรอล โดยทําให้เกิดการเผาผลาญที่ผิดปกติ

3.เพิ่มปริมาณใยอาหาร ใยอาหารพบได้ในผัก ผลไม้ และธัญพืช ใยอาหารที่ละลาย น้ําได้ เช่น เพคตินในส้ม แอปเปิ้ล และมะนาว เบต้ากลูแคนในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต มีผลต่อ การลดระดับคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดได้ โดยจะดูดซับเอากรดน้ําดีไว้ และขับออกมาใน อุจจาระ ทําให้ร่างกายต้องดึงคอเลสเตอรอลมาใช้เพื่อสร้างน้ําดี คอเลสเตอรอลในเลือดก็ลดลง

4.หมั่นออกกําลังกายและเคลื่อนไหว การออกกําลังกายแบบแอโรบิกมีผลต่อการ เพิ่มระดับของ HDL-C และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ แต่ไม่มีผลต่อการลดระดับคอเลสเตอรอลรวม และ LDL-C การออกกําลังกายครั้งละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 2-5 ครั้ง จะมีผลทําให้อัตราการ เต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น 50-70% มีผลทําให้ระดับ HDL-C ขึ้นและ LDL-C ลดลง

5. งดการสูบบุหรี่ บุหรี่ไม่มีผลต่อการเพิ่มระดับ LDL-C แต่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วม ที่จะทําให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นและระดับของ HDL-C ลดลง คาร์บอนมอนอกไซด์ในควันบุหรี่จะจับฮีโมโกลบิน ทําให้หัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

6. เพิ่มการกินผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี พบมากในผักที่มีสีส้ม แสด เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ กระเทียม หอม เป็นต้น สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดระดับไขมันในเลือด และป้องกัน LDL จาก การออกซิเดชัน จึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น