โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
3-4 เท่า และโรคหลอดเลือดของสมอง 7 เท่า
เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30
สําหรับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มม.ปรอท โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง
ทําให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงจะพบได้ในเพศชายมากกว่า
เพศหญิงและพบเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยพบในเพศชายที่อายุ 25 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงอายุ
45 ปีขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
1. ภาวะอ้วนและการขาดการออกกําลังกาย
น้ําหนักมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิต
ผู้ที่มีน้ําหนักเพิ่มขึ้นจะมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้น
คนอ้วนจะมีการคั่งของโซเดียมอยู่ในร่างกายมาก 2. ความเครียด
พบว่าความเครียดทําให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
3. การบริโภคสารอาหารโซเดียมมากเกินไป
มีงานวิจัยจํานวนมากที่พบว่าปริมาณ โซเดียมในอาหารที่บริโภคมีความสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิต
และการลดการบริโภคโซเดียม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
4. การบริโภคไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่มาก
การป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
1. ลดน้ําหนักลง 10-15% ของน้ําหนัก
2. จํากัดปริมาณแอลกอฮอล์ (วิสกี้ 45 ซีซี ไวน์
150 ซีซี หรือเบียร์ 2 กระป๋อง) 3. จํากัดโซเดียม 1.5 ถึง 2.5 กรัม/วัน (เกลือ 4
ถึง 6 กรัม) เพิ่มปริมาณกากใยอาหาร ให้มีปริมาณและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น
โดยแนะนําให้บริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยพืช/ผัก/ผลไม้ ลดปริมาณไขมันจากสัตว์
4.
ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
5. จัดการกับความเครียดที่เหมาะสม ควรใช้เครื่องเทศและสมุนไพรเหล่านี้ในการปรุงรสแทนการใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมสูง
เช่น หอม กระเทียม กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบแมงลัก ใบสะระแหน่
รากผักชี พริกไทย ลูกผักชี ยี่หร่า อบเชย ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน ใบกระวาน
กานพลู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางด้านระบาดวิทยาและการศึกษาทดลองหลายการศึกษา
ที่พบความสัมพันธ์ระหว่างความดันโลหิตและเกลือแร่ แคลเซียม
โพแทสเซียมและแมกนีเซียม โดยพบความสัมพันธ์ทางลบระหว่างความดันโลหิตกับแคลเซียม
โพแทสเซียมและแมกนีเซียม การได้รับแคลเซียมสูงขึ้นอาจจะช่วยในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง
การศึกษาทางด้าน ระบาดวิทยาพบความสัมพันธ์ทางลบของโพแทสเซียมกับความดันโลหิต
แต่พบผลขัดแย้งกัน ในการทดลองทางคลินิก
ถ้าได้รับโซเดียมจํานวนมากควรเพิ่มโพแทสเซียมด้วย เนื่องจากสัดส่วน ของโพแทสเซียม
: โซเดียม ที่ทําให้ความดันโลหิตต่ําลง แมกนีเซียมยับยั้งการหดตัวของ
กล้ามเนื้อลาย ช่วยขยายหลอดเลือด ซึ่งทําให้ระดับความดันโลหิตเป็นไปอย่างปกติ
แต่ความ สัมพันธ์นี้ยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสรุปได้
สรุปการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงคือรักษาน้ําหนักตัวให้คงที่
ลดอาหารเค็ม
อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารที่แปรรูป
รับประทานผักและผลไม้เป็นประจําเพื่อเพิ่ม ปริมาณโพแทสเซียมและใยอาหาร
ควรบริโภคไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายตําแหน่ง ดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณที่เหมาะสม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น