วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ความหมายและความสําคัญของผัก

 


ความหมายและความสําคัญของผัก

พืชผัก (Vegetable) มีรากศัพท์มาจากคําว่า Oloriculture คือ วิทยาการด้านการผลิตพืช ผัก (Vegerable Production) คือศึกษาทุกส่วนของพืชที่สามารถรับประทานได้ ทั้งสดและประกอบ อาหาร หรือแปรรูปก่อน ส่วนใหญ่เป็น ไม้เนื้ออ่อน (Herbaceous) หัวข้อเกี่ยวข้องกับการผลิตพืช ผัก ได้แก่ การผลิตผัก สามารถทําเป็นอาชีพส่วนตัว การจําแนกชนิดของพืชผัก การวางแผนการผลิต พืชผัก และเตรียมพื้นที่ปลูกได้อย่างเหมาะสม และสามารถอธิบายขั้นตอนการปลูกพืชผัก และ เลือกใช้วิธีการปลูกพืชได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเข้าใจรายละเอียดขั้นตอนการเก็บเกี่ยวพืชผักและเก็บรักษาพืช

ความหมายพืชผัก

ผัก (Vegetable) หมายถึงตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ส่วนที่รับประทานได้ "ผัก" หมายถึงอาหารที่สามารถรับประทานได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช ดังนี้

1.1 หัวบัลบ์ (Bulbs) คือส่วนของหัวที่เกิดจากการรวมตัวของใบที่ฐานลําต้น ขยายขนาด เพิ่มขึ้น อาจอยู่ใต้ดินหรือวางสัมผัสบนดิน ได้แก่ หอมแดง กระเทียม หอมหัวใหญ่ กุยช่าย

1.2 ช่อดอก (flower cluster) ผักส่วนใหญ่ ที่ใช้ช่อดอกเป็นส่วนบริโภคคือ บล็อคโคลี่ กระหล่ําดอก ซึ่งเกิดจากการอัดรวมกันเป็นหัว (head) สีเขียว ถึงเขียวเข้ม ในบล็อคโคลี่ แต่หากเป็นหัวขาว (Curd) คือส่วนที่เป็นดอกที่อัดแน่นของ ผักกะหล่ําดอก 1.3 ผล (fruits) คือส่วนที่หุ้มล้อมเมล็ด โดยที่เมล็ดเป็นผลผลิตจากพืชมีดอก นักพืชสวน พิจารณาผลที่รับประทานได้ของพืชล้มลุก เป็น "ผัก" ผลพืชที่เป็นผัก ได้แก่ แตงกวา (cucumber) มะเขือ (egg plant) แต่งเทศ (muskmelon) กระเจี๊ยบ (Okra) พริกยักษ์ (pepper) ฟักทอง (pumpkin) ถั่วแขก (snap bean) ฟักทองเทศ (Squashes) มะเขือเทศ (tomato) และ แตงโม (watermelon)

1.4 ใบ (leaves) ใบรับประทานเป็นผัก ได้แก่ กะหล่ําดาว (crussels Sprouts) กะหล่ําปลี (cabbage) เครซ (cress) เฮนลิฟ (endive) คะน้า (kale) ผักกาดหอม (lettuce) ผ้า กาดเขียว (mustard) และ ผักปวยเหล็ง (spinach) ผักบางชนิดปรุงก่อนรับประทาน แต่ สวนใหญ่ รับประทานสดในรูปแบบสลัด ผักอื่นฉ่าย (Celery) และ รูบาป (rhubarb) คือส่วนของก้านใบ (petiole) ที่เชื่อมใบกับกระจุกของต้น

1.5 ราก (root) จากที่รับประทานเป็นผัก อาจเป็นรากแขนง (fibrous roots) หรือเป็นราก แก้ว (taproots) กิ่งรากแขนงแผ่ไปใต้ดิน มันเทศ (Sweet potato) เป็นส่วนของราก แขนงที่ขยายใหญ่ขึ้น แล้วเจริญลงในแนวดิ่ง นอกจากนี้ พวก หัวบีท (beetroots) แครอท (carrot) และ ผักกาดหัวม้า (tworseradish)

1.6 เมล็ด (seeds) ได้แก่ ถั่วพี (Cowpea) ถั่วลันเตา (garden peas) ถั่วแขกต่าง ๆ 1.7 ลําต้น (stems) ลําต้นคือส่วนที่ค้ําจุนใบดอกและผลพวกที่เป็นลําต้นหลัก (main stems) 1.8 หัวต้นใต้ดิน (tubers) หัวทูเบอร์ เป็นลําต้นชนิดพิเศษ ที่เจริญอยู่ใต้ดิน ได้แก่มันฝรั่ง (potato) และ อาร์ติโชค (artichokes)

2. การประกอบอาหาร "ผัก" หมายถึงผักนํามาประกอบเป็นอาหารได้ทั้งบริโภคสด หรือ ผ่านการปรุงก่อน และผักอาจใช้เป็นส่วนประกอบหลัก เช่น อาหารสลัดผัก หรือเป็นส่วนประกอบ รอง ได้แก่ ประกอบอาหารอื่น

3. วงจรชีวิต " ผัก" เป็นสาขาด้านเกษตรศาสตร์ ด้านพืชสวน (Horticulture) จัดเป็น พืช อวบน้ํา อายุสั้น (herbaceuse plants) มีโครงสร้างเนื้อนุ่ม และสูญเสียน้ําได้เร็วกว่าผักที่เป็นไม้ยืน ต้น (trees) หรือไม่พุ่ม (shurb) ผักส่วนใหญ่มีวงจรชีวิตแบบอายุปีเดียว (annual) หรือมักจะปลูกได้ ฤดูกาลเดียวที่เหมาะสม

4. คุณค่าด้านการลดอาหาร “ผัก” ผักเป็นพืชที่นิยมใช้เพื่อการอดอาหารลดน้ําหนัก (diet) ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งกําเนิดของ วิตามิน เช่น niacin riboflavin thiamin และ วิตามินเอ วิตามินซี และแร่ธาตุสําคัญ คือแคลเซียม และเหล็ก และมีปริมาณสะสมพลังงาน ต่ํามาก

5. ความแตกต่างกับสาขาไม้ผล “ผัก” คือไม้ผลมีการเจริญในรอบปี บนต้นและมีเนื้อเยื่อ แข็ง ในบางกรณี การแยกระหว่าง แตงเทศ (melon) และแตงโม (water melon) นักพืชสวนจัดเป็น

ผัก เนื่องจากการปลูกดูแล มีลักษณะการเจริญเติบโตเป็น เถาเลื้อย และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะตายไป ในที่สุด และต้องทําการเพาะเมล็ดปลูกใหม่ทุกครั้งเมื่อสภาพแวดล้มเหมาะสม

6. เปรียบเทียบกับพืชไร่ (field crop) "ผัก" ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตในขณะยังสด ดิบ และมีความชื้นสูง ส่วนพืชไร่ จะเก็บเกี่ยวขณะเป็นเมล็ดพืช (grains) เช่น พวกถั่ว (pulse crop) พืชที่ให้น้ํามัน (oil crops) หรือพืชเพื่อเส้นใย (fiber crops)

7. สวนครัว ผักในความหมายในคําว่า ผักสวนครัว (home garden) ซึ่งกําลังได้รับความ นิยมปลูกแพร่หลายมากขึ้น และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการทําอาหาร ทําให้เกิดความ เพลิดเพลิน สามารถเลือกการพ่นสารเคมีมีพิษ จึงมีคุณภาพ มีความปลอดภัยจากสารพิษเหล่านั้น ตัวอย่าง ผักที่นิยมทําเป็นผักสวนครัว ได้แก่ ถั่ว (bean) กะหล่ําปลี แตงกวา ผักกาดหอม หอมหัว ใหญ่ ผักกาดหัว ฟักทองเทศ (Squash) และมะเขือเทศ เป็นต้น

8. การแปรรูป เป็นพืชที่สามารถแปรรูป โดยมีตลาดที่มีกําลังนําเข้าสูง คือประเทศเอมริกา และคานาดา โดยส่งในรูป อาหารกระป๋อง (canned) การทําผักแห้ง (dehydrated) ผักแช่แข็ง (frozen) หรือการแปรู(processec) ผักแปรรูปที่ได้รับความนิยมในการแปรรูป เช่นถั่วลันเตา มัน ฝรั่ง ถั่วแขก (Snap bean) ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ ส่วนรูปแบบที่นิยมบริโภคสดได้แก่กะหล่ําปลี แครอท ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ และมะเขือเทศ


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น