พลังงานความต้องการพลังงานจะขึ้นกับพลังงานที่ใช้ โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ของสมดุล
ในผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เกณฑ์ที่บอกถึงความพอเพียงของพลังงานที่ได้รับ คือ น้ําหนัก คงที่ (เปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยแต่ละวัน 0.5 - 1.0 กิโลกรัมเป็นเรื่องปกติ) เกณฑ์น้ําหนักตัว เป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงพลังงานที่ได้รับ และถ้าจะให้มีความแม่นยํายิ่งขึ้น การประเมินการ เปลี่ยนแปลงปริมาณไขมันที่เพิ่มขึ้น โดยน้ําหนักยังคงที่ก็เป็นไปได้ และควรปรับปรุงโดยการออกกําลังกายแบบแอโรบิกและแบบด้านแรง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและคงสภาพกล้ามเนื้อ ความต้องการพลังงานจะขึ้นกับการใช้พลังงาน โดยที่ค่าเฉลี่ยที่กําหนดในแต่ละกลุ่มที่เพิ่มขึ้นหรือลดเป็นบรรทัดฐานในการเพิ่มหรือลดสัดส่วนเพื่อให้ได้ตามการใช้พลังงานที่มากขึ้นหรือน้อยลง การกําหนดการได้รับพลังงานจากอาหารเป็นไปตามระดับการใช้พลังงานร่างกาย ดังนั้น ผู้ที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวและออกกําลังกายควรได้รับพลังงานที่น้อยกว่าที่กําหนดในแต่ละกลุ่มอายุขณะที่ผู้ที่ใช้พลังงานมาก เช่น ผู้ที่ออกกําลังกายสม่ําเสมอหรือนักกีฬาควรได้รับพลังงาน เพิ่มขึ้น
ฉลากโภชนาการ
อาหารที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรมออกสู่ตลาดนั้น การเลือกซื้อของผู้บริโภคได้รับการดูแล จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) ในการที่จะควบคุม ดูแลให้มีการแจ้งคุณค่า ของอาหารของผลิตภัณฑ์นั้นด้วย การทําความเข้าใจและการอ่านฉลาก โภชนาการเป็นสิ่งจําเป็น และเป็นสิทธิของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งฉลากจะ บอกข้อเท็จจริงด้านโภชนาการ (nutrition facts) ว่าผลิตภัณฑ์นั้นประกอบด้วย
1. จํานวนที่ส่วนบริโภค
2. สารอาหารในแต่ละส่วนบริโภค และร้อยละของที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน โดยอิง กับปริมาณ เช่น พลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี/วัน ปริมาณพลังงาน (กิโลแคลอรี) ปริมาณไขมัน(กรัม) คอเลสเตอรอล (มิลลิกรัม) โซเดียม (มิลลิกรัม) คาร์โบไฮเดรต (กรัม) ใยอาหาร (กรัม) น้ําตาล (กรัม) โปรตีน (กรัม)
3. ปริมาณวิตามิน เกลือแร่ว่าเป็นร้อยละของที่ควรจะได้
4. ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับของพลังงาน 2,000 และ 2,500 กิโลแคลอรี /วัน เพื่อเปรียบเทียบกับที่ได้รับในหนึ่งส่วนบริโภคของผลิตภัณฑ์
5. ค่าพลังงานว่าพลังงานคิดจากปริมาณคาร์โบไฮเดรต x 4 กิโลแคลอรี ไขมัน x 9 กิโลแคลอรี และโปรตีน x
นอกจากข้อมูลกล่าวอ้างด้านเอกสาร (nutrition claims) ที่บอกถึงปริมาณสารอาหาร และร้อยละของความต้องการดังกล่าวมาแล้ว FDA (สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ยังให้มีการแสดงถึงการกล่าวอ้างด้านสุขภาพ (health claims) ซึ่งบอกถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจสอบมาแล้วว่า
1. เป็นสารอาหารหรือสารเคมีที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคในกลุ่มที่เสี่ยง
2. ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีการทดสอบและการยืนยันมาจากการศึกษาวิจัยที่เชื่อถือได้ในท้องตลาด การอ่านให้เข้าใจฉลากโภชนาการเป็นสิ่งสําคัญในการเลือกผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งมีขาย อย่างไรก็ดีอาหารที่ปรุงสําเร็จพร้อมบริโภครวมถึงอาหารที่ปรุงเองในครัวเรือนก็จําเป็น ต้องเข้าใจแนวคิดและหลักการเลือกอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและหลักสุขอนามัยทางอาหาร เพื่อให้ได้สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงสารพิษ และได้สารอาหารหลากหลายและพอเพียงเกณฑ์ชี้วัดภาวะโภชนาการ ปัญหาการมีน้ําหนักเกิน อ้วนจําเป็นต้องมีเกณฑ์บอกที่ชัดเจน เพื่อหากลุ่มเสี่ยงในการ ดําเนินการเฝ้าระวังไม่ให้ปัญหามากขึ้น การรักษานั้นจําเป็นต้องทําการประเมิน (assessment) เพื่อบอกดีกรีของความอ้วน และบอกถึงปัจจัยเสี่ยงสุขภาพต่างๆ จากนั้นใช้การดําเนินการ/บริหาร จัดการ (management) ซึ่งจะรวมถึงการควบคุมน้ําหนักไม่ให้เพิ่ม การลดน้ําหนักให้ได้ และรักษา คงไว้ ไม่ให้กลับเพิ่มขึ้นมาอีก (weight regain) ดังนั้นความสําเร็จของการดําเนินการต้องการ การดูแลและเฝ้าระวังในระยะยาว ก่อนอื่นต้องทราบถึงเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินความอ้วนผอมก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
1. มวลร่างกาย (Body Mass Index, BMI) บอกถึงน้ําหนัก (กก.) หารด้วยความสูง (เมตร) ยกกําลังสอง ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจหรือไม่ เนื่องจาก BMI ที่เพิ่มขึ้นจากจุดตัดที่กําหนด มีผลทําให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ การเฝ้าระวังไม่ให้ BMI สูงเกินไปเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
2. เส้นรอบพุง นอกจากการดูแลน้ําหนักตัว สิ่งที่ต้องทําควบคู่กันไปก็คือดูแล เส้นรอบพุง เพราะไขมันที่สะสมส่วนพุงมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ผู้หญิงเส้นรอบพุงไม่ควรเกิน 32 นิ้ว ส่วนผู้ชายไม่เกิน 36 นิ้ว ไขมันที่เพิ่มขึ้นใน ส่วนพุงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการทํางานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทําหน้าที่ควบคุมระดับน้ําตาล ในเลือด และทําให้เกิดการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งจะส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานและโรคไม่ติดเชื้อ เรื้อรังอื่นๆ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น