วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ปัญหาภาวะโรคอ้วน น้ำหนักเกินและการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย

ความสมดุลของพลังงาน ภาวะน้ําหนักเกิน และโรคอ้วน

1. ผู้ที่มีน้ําหนักเกินและผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีความต้านทานหรือดื้อต่ออินซูลิน การลดน้ําหนักตัวสามารถทําให้ความต้านทานต่ออินซูลินดีขึ้น ดังนั้นการลดน้ําหนักตัวจึงเป็นข้อแนะนํา ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

2. โปรแกรมการลดน้ําหนักตัวซึ่งเน้นการปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิต ซึ่ง ครอบคลุมถึงการให้ความรู้ การลดพลังงานจากอาหารและไขมันที่รับประทาน (ประมาณ 30% ของพลังงานที่ได้รับ) การเคลื่อนไหวร่างกาย/ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องอย่าง สม่ําเสมอ (participant contact) สามารถลดน้ําหนักในระยะยาวได้ประมาณ 5-7% ของ น้ําหนักตัว เมื่อเริ่มต้น ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิตจึงเป็นหลักการแรกที่สําคัญ ในการลดน้ําหนักตัว

3. การจํากัดการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ํากว่า 130 กรัมต่อวัน เป็นวิธี ที่ไม่แนะนําในการรักษาผู้ที่มีปัญหาน้ําหนักเกินและผู้ที่เป็นโรคอ้วน เนื่องจากผลระยะยาวของ การใช้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ํายังไม่ทราบแน่นอน แม้ว่าการใช้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ํา จะช่วยลดน้ําหนักตัวได้ในระยะสั้นก็ตาม แต่การที่จะรักษาหรือควบคุมน้ําหนักตัวที่ลดได้ อย่างต่อเนื่องก็ไม่แตกต่างไปจากการใช้อาหารที่มีไขมันต่ํา และผลกระทบต่อความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด

4. การเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกําลังกาย (physical activity) และการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมเป็นองค์ประกอบที่สําคัญในโปรแกรมการลดน้ําหนักตัว และเป็นองค์ประกอบที่ช่วย ให้คงการรักษาน้ําหนักตัวที่ลดได้อย่างต่อเนื่องและได้ผลดีที่สุด

การวางแผนการให้โภชนบําบัดในผู้ที่เป็นโรคอ้วน

1.กําหนดพลังงานอาหารที่รับประทานให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนสามารถ ควบคุมน้ําหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น โดยลดน้ําหนักตัวให้ได้ประมาณ 5-10% ของน้ําหนัก


 2.ที่เป็นอยู่ในขั้นแรก และรักษาน้ําหนักที่ลดให้ได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปรับวิถีการดําเนินชีวิต ให้ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วนได้ การให้โภชนบําบัดในการรักษา โรคอ้วน ใช้หลักการของ National Institute of Health 

3.กําหนดปริมาณโปรตีนประมาณ 10-20% ของพลังงาน โดยเน้นแหล่งของโปรตีน จากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย ปลา ไก่ ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้ง

4.กําหนดปริมาณไขมัน ชนิดของไขมันและคอเลสเตอรอลให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับไขมันในเลือดของแต่ละคน ผู้ที่มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดควร ควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยใช้หลักการของ TLC Diet (Therapeutic Lifestyle Changes Diet) ร่วมด้วย ดัง

5. กําหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตประมาณ 50% ของพลังงาน โดยใช้รายการอาหาร แลกเปลี่ยนและอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนร่วมในการวางแผนอาหาร

6.ลดปริมาณโซเดียมในอาหารสําหรับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง ลดโซเดียมให้

7.น้อยกว่า 2.4 กรัม หรือเท่ากับเกลือ 6 กรัม

8. ติดตามประเมินการบริโภคไขมันในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง

9.กําหนดและดัดแปลงอาหารให้เหมาะสมกับอาหารในท้องถิ่นของผู้ที่เป็นโรคอ้วน ให้รับประทานเป็นประจํา

ผู้ที่มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด ควรให้โภชนบําบัดตามหลักการของ Therapeutic Lifestyle Change Diet (TLC diet) ดังแสดงในตารางที่ 7 ร่วมกับการลด ปัจจัยเสี่ยง เช่น เพิ่มการออกกําลังกาย ลดน้ําหนักตัว ลดความเครียด ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของไขมันในเลือดและโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ และเป็นปัญหาที่มักพบในผู้ที่เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น