วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566

โรคตับจากการดื่มแอลกอฮอล์


 โรคตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ (alcoholic liver disease) เป็นสาเหตุ หลักของโรคตับเรื้อรังในปัจจุบัน โดยผลสํารวจของสํานักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2550 พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จํานวน 14.9 ล้านคนดื่ม แอลกอฮอล์ หรือร้อยละ 29 ประชากรไทยดื่มสุราเฉลี่ยวันละ 100 กรัม โดยมี ยอดปริมาณสุราที่เสียภาษีสรรพสามิตจํานวน 2,309 ล้านลิตร ซึ่งมากกว่า ประชากรในประเทศอื่นๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีประชากรร้อยละ 7.4 ที่ดื่มสุราปริมาณมาก จนเป็นโรคตับจากแอลกอฮอล์และโรคพิษสุราเรื้อรัง (alcoholic dependent) อัตราการเสียชีวิตของโรคตับเนื่องจากแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 1 ลิตร จะเพิ่มโอกาสของการเป็นตับแข็งร้อยละ 14 ในผู้ชายและร้อยละ 8 ในผู้หญิง การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากพออาจทําให้เกิดความผิดปกติใน ตับตั้งแต่เกิดไขมันสะสมในตับ (simple steatosis) จนกลายเป็นตับแข็ง ปัจจัยที่ มีผลต่อการดําเนินโรคคือ ปริมาณ ระยะเวลา และชนิดของแอลกอฮอล์ที่ดื่ม รูปแบบการดื่ม เพศ เชื้อชาติ และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคอ้วน ภาวะไขมัน สะสมในตับ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง และปัจจัยทางพันธุกรรมคือโรคตับจากแอลกอฮอล์ แบ่งตามลักษณะทางพยาธิวิทยาได้ 3 กลุ่ม

1. ภาวะไขมันสะสมในตับ (fatty liver หรือ simple steatosis)

2. โรคตับอักเสบ (alcoholic hepatitis)

3. โรคตับแข็ง (chronic hepatitis with hepatic fibrosis or cirrhosis) ภาวะไขมันสะสมในตับพบเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ของคนที่ดื่ม แอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 60 กรัม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ และไขมันสามารถ หายได้เองภายหลังหยุดดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ แต่มีผู้ป่วยส่วน น้อยร้อยละ 5-15 ที่อาจมีการดําเนินโรคเป็นตับแข็งทั้งที่หยุดดื่มแอลกอฮอล์ แล้ว ผู้ป่วยที่ยังดื่มแอลกอฮอล์ ประมาณร้อยละ 30 จะเกิดพังผืดในตับและ ตับแข็ง โดยมักเกิดพังผืดสะสมบริเวณ perivenular ก่อน และกระจายไปทั่วตับ ทําให้เกิดตับแข็งชนิด micronodular หรือ mixed micro และ macronodular ผู้ป่วยร้อยละ 10-35 เกิดภาวะตับอักเสบ ซึ่งมีโอกาสเป็นตับแข็งมาก กว่าผู้ป่วยที่มีเพียงภาวะไขมันสะสมในตับเท่านั้นมากถึง 9 เท่า และในผู้ป่วยที่ มีอาการรุนแรง มักเสียชีวิตร้อยละ 40 ภายใน 6 เดือน มีการศึกษาในผู้ป่วยที่ หยุดดื่มสุราเป็นเวลา 18 เดือนพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 27 มีลักษณะทางพยาธิของตับกลับเป็นปกติ ผู้ป่วยร้อยละ 18 มีการดําเนินโรคไปเป็นตับแข็ง และผู้ป่วยที่ เหลือยังคงมีตับอักเสบอยู่ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยสําคัญที่สุดของการเกิดโรคตับจากแอลกอฮอล์คือปริมาณ อุบัติการณ์ของการเกิดโรคตับเพิ่มขึ้นในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์มานาน 10 ปี ในปริมาณที่มากกว่าวันละ 60-80 กรัมในผู้ชาย และมากกว่า 20 กรัมในผู้หญิง แต่พบว่ามีเพียงร้อยละ 6-41 ที่เกิดโรคตับอักเสบจาก แอลกอฮอล์ แต่การศึกษาหนึ่งพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคตับเพิ่มขึ้นในคนที่ ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 30 กรัม หรือดื่มแอลกอฮอล์สะสมมากกว่า 100 กิโลกรัม ผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 30 กรัม มีโอกาสเกิดตับแข็ง เพิ่มขึ้น 13.7 เท่า ชนิดของแอลกอฮอล์มีผลต่อการเกิดโรคตับ มีการศึกษาในชาวเดนมาร์ก 30,000 คน พบว่าการดื่มเบียร์และเหล้ามีโอกาสเกิดโรคตับมากกว่าการ ดื่มไวน์ นอกจากนี้รูปแบบของการดื่มแอลกอฮอล์ก็มีผลต่อการเกิดโรคตับ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่ได้รับประทานร่วมด้วย มีโอกาสเกิดโรคตับมากกว่าผู้ที่ ดื่มแอลกอฮอล์พร้อมอาหาร 2.7 เท่าผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์มีโอกาสเกิดโรคตับมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า โดย เกิดโรคตับภายหลังดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่น้อยกว่า และใช้ระยะเวลาที่สั้น

กว่าผู้ชาย มีหลายการศึกษาพบว่าระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้หญิง แตกต่างจากผู้ชาย ซึ่งเกิดจากระดับของ gastric alcohol dehydrogenase ที่ต่าง กัน ปริมาณไขมันสะสมในร่างกายของผู้หญิงที่มากกว่าและการเปลี่ยนแปลงของการดูดซึมแอลกอฮอล์ขณะมีประจําเดือนผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เท่ากันพบว่าคนผิวดํา และ ชาว hispanic มีโอกาส เกิดโรคตับเนื่องจากแอลกอฮอล์มากกว่าชาวผิวขาว และอัตราตายจากโรคตับ เนื่องจากแอลกอฮอล์พบมากในผู้ป่วยชาว hispanic ดังนั้นเชื้อชาติจึงมีผลต่อ การเกิดและการดาเนินโรค

ภาวะทุพโภชนาการและโรคอ้วนมีผลกับโรคตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยที่มี protein calorie malnutrition ร่วมด้วย พบมีอัตราการตาย ร้อย ละ 80 มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ขาดสารอาหารซึ่งพบเพียงร้อยละ 50 การขาด วิตามินเอ และ วิตามินอี ทําให้โรคตับจากแอลกอฮอล์เป็นรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยที่ ดื่มแอลกอฮอล์และมีน้ําหนักตัวมากกว่าปกติ หรือโรคอ้วน มีโอกาสเป็นโรคตับ มากกว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และมีน้ําหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติโรคตับเนื่องจากแอลกอฮอล์พบมากในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของยีนที่ควบคุม alcohol dehydrogenase, acetaldehyde dehydrogenase และ cytochrome P450 ทําให้ตับผลิต endotoxin ในร่างกายมากขึ้น ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่ดื่มแอลกอฮอล์จะเกิดโรคตับที่รุนแรงขึ้น เริ่มมีตับอักเสบตั้งแต่อายุน้อย และมีอายุขัยลดลง เมื่อเปรียบเทียบ กับผู้ป่วยที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่ ดื่มแอลกอฮอล์จะเกิดโรคตับแข็งมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ถึง 30 เท่า ดังนั้นควรแนะนําให้ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น