วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ความสําคัญของการผลิตพืชผัก

 ความสําคัญของการผลิตพืชผัก

พืชผักและเห็ดเป็นอาหารที่มีความสําคัญต่อการบริโภคของมนุษย์จาการรายงานขององค์ การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2537 พบว่าการผลิตผักของทั้งโลกมีปริมาณ ทั้งสิ้น 485.55 ล้านตัน ของการผลิตโลก แหล่งผลิตอยู่ในแถบเอเชียแปซิฟิคซึ่งผลิตผักได้ 269.06 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 53.97 ของการผลิตโลก ประเทศไทยจัดเป็นผู้ผลิตรายหนึ่งในแถบเอเชีย แปซิฟิค ไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 11 ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่การผลิตผักโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 2-3 ล้านไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 4 ล้านตัน

พืชผักเป็นสินค้าที่มีความสําคัญเพราะนอกจากจะเป็นพืชอาหารที่อุดมด้วยวิตามินและ เกลือแร่ต่าง ๆ ที่จําเป็นต่อร่างกายเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ํา และมีราคาไม่แพงแล้วแนวโน้มความ ต้องการพืชผักยังเพิ่มมากขึ้นตามจํานวนประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต นอกจากนี้พืชผักยังมี

บทบาทที่สําคัญในการจ้างงานเป็นแหล่งที่มาของรายได้ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องแก่ชนบท

อย่างมากมาย และทํารายได้ให้ประเทศปีละหลายพันล้านบาท

สถานการณ์พืชผักของประเทศไทย

1. การผลิต ลักษณะการผลิต ประเทศไทยมีการผลิตพืชผักไม่น้อยกว่า 70 ชนิด 

2. ผักประเภทกินใบและลําต้น ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว กะหล่ําปลี ผักบุ้งจีน ผักกาดเขียวปลี และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

3. ผักประเภทกินดอกและผล ได้แก่ กะหล่ําดอก มะเขือเทศ พริก ถั่วฝักยาว ข้าวโพดฝัก อ่อน ข้าวโพดหวาน แตงกวา และกระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น

4. ผักประเภทกินหัวและราก ได้แก่ กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ผักกาดหัว และมัน เทศ เป็นต้น ผลผลิตพืชผักจะออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี แต่จะมีปริมาณมากที่สุดในช่วงฤดูหนาวคือระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปีเนื่องจากเป็นช่วงที่มีอากาศเหมาะสมต่อการเพาะปลูก โดย เฉพาะผักประเภทกินใบและต้นส่วนฤดูฝนและฤดูร้อน ปริมาณผลผลิตจะลดลงเนื่องจากมีปริมาณ น้ําฝนมากในฤดูฝนทําให้ผักเน่าเสีย และในช่วงฤดูร้อนอากาศแห้งแล้งมากทําให้การระบาดของแมลงมาก ทําความเสียหายกับผักในแปลงปลูกมากเช่นกัน

แหล่งผลิตพืชผัก

แหล่งผลิตผักสดกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในแต่ละแหล่งผลิตจะผลิตผักชนิดต่าง ๆ กัน ตามความเหมาะสมของภูมิอากาศและภูมิประเทศในแต่ละภาค ที่สําคัญดังนี้ 1. ภาคกลางและภาคตะวันตก แหล่งปลูก คือจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สระบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ชนิดผักที่ผลิต ได้แก่ ผักคะน้า ถั่วฝักยาว มะระจีน แตงกวา ผักกาดขาว กวางตุ้ง ผัก กาดหัว ข้าวโพดฝักอ่อน กระเจี๊ยบเขียว และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

2. ภาคเหนือ

แหล่งปลูก คือจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน เพชรบูรณ์ และตาก

ชนิดผักที่ผลิต ได้แก่ ถั่วลันเตา กะหล่ําปลี ถั่วแขก ผักกาดหอม มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ กระเทียม หอมแดง มันฝรั่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตผักเมืองหนาวหลายชนิด เช่น กระเทียมต้น แครอท แรดิช และผักสลัดชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แหล่งปลูก คือจังหวัดหนองคาย สกลนคร นครพนม บุรีรัมย์ นครราชสีมา อุดรธานี และ ชนิดผักที่ผลิต ได้แก่ผลิตมะเขือเทศอุตสาหกรรม พริก ข้าวโพดฝักอ่อน และแต่งไม่ พื้นที่ปลูกและผลผลิต

จากสถิติการปลูกพืชผักของกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2538/2539 ประเทศไทยมีพื้นที่ ปลูกผักเศรษฐกิจ ทั้งสิ้น 3,093,858 ไร่ ผลผลิตรวม 4.8 ล้านตัน อัตราเฉลี่ยของพื้นที่ปลูกและผล ผลิตรวมของพืชผักในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา (2534 / 35-25381 39) มีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 12.54 และ 11.56 ตามลําดับ

2. การตลาด

2.1 การใช้บริโภคภายในประเทศ

ผลผลิตพืชผักที่ผลิตได้ ในแต่ละปีจะใช้บริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่คือ ประมาณ2 3 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 90 - 95 ของผลผลิตทั้งหมด จากการสํารวจสํามะโนประชากรของ สํานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยมีการบริโภคพืชผ้ากันประมาณ 40 - 50 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งนับ ว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับคนญี่ปุ่น หรือคนจีนซึ่งมีการบริโภคพืชผักมากกว่า 100 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

การส่งออก

ประเทศไทยมีการส่งออกพืชผักทั้งในรูปผักสด ผักแช่แข็ง ผักกระป๋อง ผักแช่น้ําเกลือ ผัก ดองน้ําส้ม และผักตากแห้ง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมากล่าวคือตั้งแต่ปี 2535 - 2539 การส่งออกพืชผัก มีปริมาณและมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากปี 2535 ซึ่งมีการส่งออกในปริมาณทั้งสิ้น 266,979 ตัน มูล ค่ารวม 5,544.9 ล้านบาท และในปี 2539 มีการส่งออกในปริมาณทั้งสิ้น 225,600 ตัน มูลค่ารวม 8,264.4 ล้านบาท อัตราการส่งออกเฉลี่ย ในรอบ 5 ปี มีปริมาณเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.45 และมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.7

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น