1.
ปริมาณพลังงานของอาหารจะต้องพอเพียงสําหรับการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์ควรได้พลังงานเพิ่มจากปกติวันละ
300 กิโลแคลอรี
ซึ่งดัชนีชี้วัดหญิงตั้งครรภ์ที่บริโภคอาหารถูกต้องและเพียงพอหรือไม่ คือ
น้ําหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ของหญิงตั้งครรภ์
2. ใน 1 วัน ควรรับประทาน 5-6 มื้อ
มีมื้อว่างระหว่างมื้อหลัก เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับอาหารเพียงพอ
และป้องกันไม่ให้อิ่มเกินควร อาหารมื้อว่างควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นม
ผลไม้ เป็นต้น
3. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก
ควรเป็นข้าวกล้องหรือข้าวที่ขัดสีแต่น้อย
4. อาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์
และถั่วเมล็ดแห้ง หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับในปริมาณที่เพียงพอ
แนวทางการบริโภคอาหารสําหรับหญิงตั้งครรภ์
5. ไข่ควรรับประทานวันละ 1 ฟอง
เพราะมีโปรตีนคุณภาพดี และให้วิตามินเกลือแร่อีกมาก
6. แร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ แคลเซียม และเหล็ก
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับเพิ่มขึ้น จึงควรดื่มนมทุกวัน วันละ 2-3 แก้ว
หากมีน้ําหนักมากอาจดื่มนมพร่องมันเนย
และควรรับประทานปลาเล็กปลายน้อยให้มากขึ้นอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
ถ้าไม่สามารถดื่มนมได้ ควรรับประทานเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่
และถั่วเมล็ดแห้งเพิ่มขึ้น 1 เท่า
7. ผักและผลไม้ควรรับประทานทุกมื้อ
นอกจากจะได้วิตามินและแร่ธาตุ แล้วยังได้ใยอาหารเพื่อช่วยในการขับถ่ายด้วย
8. บริโภคอาหารที่มีไขมันบ้างทุกมื้อ
โดยรับประทานอาหารพวกทอด ผัด หรืออาหารใส่กะทิบ้าง 10. ดื่มน้ําในปริมาณที่เพียงพอ
ประมาณวันละ 2 ลิตร อาจอยู่ในรูปน้ําดื่ม น้ําผลไม้ น้ําซุป
9. อาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เค็มจัด
หวานจัด โดยเฉพาะอาหารที่มีรสหวานจัด จะทําให้ได้รับพลังงาน
เพิ่มขึ้นโดยไม่จําเป็น
10. อาหารประเภทดอง
11. อาหารที่ทําให้เสาะท้องหรือท้องเสียได้ง่าย
12. อาหารที่ใส่ผงชูรส
หรือขนมขบเคี้ยวที่ใส่ผงชูรส
13. อาหารที่มีส่วนผสมของน้ําประสานทองเช่น
ลูกชิ้นเด้ง
14. อาหารที่เคยรับประทานแล้วเกิดอาการแพ้
15. อาหารที่ใช้เครื่องปรุงแต่งมาก เช่น แต่งสี
แต่งกลิ่น แต่งรส ตลอดจนอาหารที่ใส่สารกันบูด
16. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น
อาหารที่ทอดในน้ํามันมากๆ เนื้อสัตว์ติดมัน
17. อาหารที่ไม่สะอาด การสุขาภิบาลอาหารไม่ดี
18. เครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ ที่มีคาเฟอีน
คาเฟอีนมีผลกระตุ้นประสาทส่วนกลาง และสามารถ
อยู่ในกระแสเลือดได้นานในระยะตั้งครรภ์
คาเฟอีนสามารถผ่านรกไปยังทารกและทารกไม่สามารถสลาย
คาเฟอีนได้
คาเฟอีนนี้อาจมีผลต่ออัตราการเต้นหัวใจและการหายใจของทารกในครรภ์
19. เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
20. ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5
หมู่ทุกมื้อและควรเพิ่มปริมาณมากกว่าปกติ
21.ใน 1 วัน ควรรับประทาน 5-6 มื้อ
มีมื้อว่างระหว่างมื้อหลัก เพื่อให้หญิงให้นมบุตรได้รับ อาหารเพียงพอ
และป้องกันไม่ให้อิ่มเกินควร อาหารมื้อว่างควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นม
ผลไม้ เป็นต้น
22. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก
ควรเป็นข้าวกล้องหรือข้าวที่ขัดสีแต่น้อย
23. อาหารประเภทเนื้อสัตว์
หญิงให้นมบุตรควรรับประทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นจากระยะตั้งครรภ์
ควรรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมันหรือมีมันน้อย เช่น เนื้อปลา ไก่
เนื้อหมูหรือวัวไม่ติดมัน เป็นต้น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลและปลาตัวเล็กตัวน้อย
ควรรับประทานสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ดี และให้วิตามินเกลือแร่อีกมาก
24. ไข่ควรกินไข่วันละ 1 ฟอง
เพราะมีโปรตีนคุณภาพดี !
25. นม
หญิงให้นมบุตรควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 3 แก้ว ถ้าเป็นไปได้ควรดื่มถึง 4
แก้วก็จะดีมาก เพราะ ร่างกายต้องการโปรตีน
และแคลเซียมสําหรับการสร้างน้ํานมให้ทารก แต่ถ้าดื่มนมไม่พอ กุ้งแห้ง
ปลาที่รับประทานก็ควรรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมอย่างอื่นเพิ่มขึ้น เช่น
ปลาเล็กปลาน้อยได้ทั้งกระดูก และผักใบเขียวให้มากขึ้น
26. ผักต่าง ๆ ควรรับประทานผักให้มาก ๆ
ทั้งชนิดใบเขียวและใบเหลือง ผักนอกจากจะให้วิตามิน และเกลือแร่
แล้วยังช่วยในการขับถ่ายด้วย
27. ผลไม้ ควรรับประทานผลไม้สดเป็นประจําทุกวัน
เช่น ส้ม มะละกอสุก สับปะรด ฝรั่ง กล้วย
และควรดื่มน้ําผลไม้แทนน้ําหวานต่างๆ
28. ไขมันหรือน้ํามัน ควรรับประทานวันละ 3
ช้อนโต๊ะ โดยใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ
29. น้ํามันและไขมัน
ควรได้รับเท่ากับหญิงตั้งครรภ์ จะเป็นน้ํามันจากพืชหรือสัตว์ก็ได้ โดยใช้
ประกอบอาหารต่างๆ เช่น ผัด ทอด
30. น้ํา
หญิงให้นมบุตรควรดื่มน้ําในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณวันละ 2 ลิตร และควรรับประทาน
ของเหลวชนิดอื่นๆ เช่น น้ําแกง น้ําซุป น้ําผลไม้ให้มาก เพื่อช่วยให้น้ํานมมากขึ้น