วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2566

แนวทางการบริโภคอาหารสําหรับหญิงตั้งครรภ์



1. ปริมาณพลังงานของอาหารจะต้องพอเพียงสําหรับการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์ควรได้พลังงานเพิ่มจากปกติวันละ 300 กิโลแคลอรี ซึ่งดัชนีชี้วัดหญิงตั้งครรภ์ที่บริโภคอาหารถูกต้องและเพียงพอหรือไม่ คือ น้ําหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ของหญิงตั้งครรภ์

2. ใน 1 วัน ควรรับประทาน 5-6 มื้อ มีมื้อว่างระหว่างมื้อหลัก เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับอาหารเพียงพอ และป้องกันไม่ให้อิ่มเกินควร อาหารมื้อว่างควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นม ผลไม้ เป็นต้น

3. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ควรเป็นข้าวกล้องหรือข้าวที่ขัดสีแต่น้อย

4. อาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ และถั่วเมล็ดแห้ง หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับในปริมาณที่เพียงพอ

แนวทางการบริโภคอาหารสําหรับหญิงตั้งครรภ์

5. ไข่ควรรับประทานวันละ 1 ฟอง เพราะมีโปรตีนคุณภาพดี และให้วิตามินเกลือแร่อีกมาก

6. แร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ แคลเซียม และเหล็ก หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับเพิ่มขึ้น จึงควรดื่มนมทุกวัน วันละ 2-3 แก้ว หากมีน้ําหนักมากอาจดื่มนมพร่องมันเนย และควรรับประทานปลาเล็กปลายน้อยให้มากขึ้นอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ถ้าไม่สามารถดื่มนมได้ ควรรับประทานเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเพิ่มขึ้น 1 เท่า

7. ผักและผลไม้ควรรับประทานทุกมื้อ นอกจากจะได้วิตามินและแร่ธาตุ แล้วยังได้ใยอาหารเพื่อช่วยในการขับถ่ายด้วย

8. บริโภคอาหารที่มีไขมันบ้างทุกมื้อ โดยรับประทานอาหารพวกทอด ผัด หรืออาหารใส่กะทิบ้าง 10. ดื่มน้ําในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณวันละ 2 ลิตร อาจอยู่ในรูปน้ําดื่ม น้ําผลไม้ น้ําซุป

9. อาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด โดยเฉพาะอาหารที่มีรสหวานจัด จะทําให้ได้รับพลังงาน

เพิ่มขึ้นโดยไม่จําเป็น

10. อาหารประเภทดอง

11. อาหารที่ทําให้เสาะท้องหรือท้องเสียได้ง่าย

12. อาหารที่ใส่ผงชูรส หรือขนมขบเคี้ยวที่ใส่ผงชูรส

13. อาหารที่มีส่วนผสมของน้ําประสานทองเช่น ลูกชิ้นเด้ง

14. อาหารที่เคยรับประทานแล้วเกิดอาการแพ้

15. อาหารที่ใช้เครื่องปรุงแต่งมาก เช่น แต่งสี แต่งกลิ่น แต่งรส ตลอดจนอาหารที่ใส่สารกันบูด

16. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารที่ทอดในน้ํามันมากๆ เนื้อสัตว์ติดมัน

17. อาหารที่ไม่สะอาด การสุขาภิบาลอาหารไม่ดี

18. เครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ ที่มีคาเฟอีน คาเฟอีนมีผลกระตุ้นประสาทส่วนกลาง และสามารถ อยู่ในกระแสเลือดได้นานในระยะตั้งครรภ์ คาเฟอีนสามารถผ่านรกไปยังทารกและทารกไม่สามารถสลาย

คาเฟอีนได้ คาเฟอีนนี้อาจมีผลต่ออัตราการเต้นหัวใจและการหายใจของทารกในครรภ์

19. เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์

20. ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ทุกมื้อและควรเพิ่มปริมาณมากกว่าปกติ

21.ใน 1 วัน ควรรับประทาน 5-6 มื้อ มีมื้อว่างระหว่างมื้อหลัก เพื่อให้หญิงให้นมบุตรได้รับ อาหารเพียงพอ และป้องกันไม่ให้อิ่มเกินควร อาหารมื้อว่างควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นม ผลไม้ เป็นต้น

22. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ควรเป็นข้าวกล้องหรือข้าวที่ขัดสีแต่น้อย

23. อาหารประเภทเนื้อสัตว์ หญิงให้นมบุตรควรรับประทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นจากระยะตั้งครรภ์ ควรรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมันหรือมีมันน้อย เช่น เนื้อปลา ไก่ เนื้อหมูหรือวัวไม่ติดมัน เป็นต้น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลและปลาตัวเล็กตัวน้อย ควรรับประทานสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ดี และให้วิตามินเกลือแร่อีกมาก

24. ไข่ควรกินไข่วันละ 1 ฟอง เพราะมีโปรตีนคุณภาพดี !

25. นม หญิงให้นมบุตรควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 3 แก้ว ถ้าเป็นไปได้ควรดื่มถึง 4 แก้วก็จะดีมาก เพราะ ร่างกายต้องการโปรตีน และแคลเซียมสําหรับการสร้างน้ํานมให้ทารก แต่ถ้าดื่มนมไม่พอ กุ้งแห้ง ปลาที่รับประทานก็ควรรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมอย่างอื่นเพิ่มขึ้น เช่น ปลาเล็กปลาน้อยได้ทั้งกระดูก และผักใบเขียวให้มากขึ้น

26. ผักต่าง ๆ ควรรับประทานผักให้มาก ๆ ทั้งชนิดใบเขียวและใบเหลือง ผักนอกจากจะให้วิตามิน และเกลือแร่ แล้วยังช่วยในการขับถ่ายด้วย

27. ผลไม้ ควรรับประทานผลไม้สดเป็นประจําทุกวัน เช่น ส้ม มะละกอสุก สับปะรด ฝรั่ง กล้วย

และควรดื่มน้ําผลไม้แทนน้ําหวานต่างๆ

28. ไขมันหรือน้ํามัน ควรรับประทานวันละ 3 ช้อนโต๊ะ โดยใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ

29. น้ํามันและไขมัน ควรได้รับเท่ากับหญิงตั้งครรภ์ จะเป็นน้ํามันจากพืชหรือสัตว์ก็ได้ โดยใช้ ประกอบอาหารต่างๆ เช่น ผัด ทอด

30. น้ํา หญิงให้นมบุตรควรดื่มน้ําในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณวันละ 2 ลิตร และควรรับประทาน ของเหลวชนิดอื่นๆ เช่น น้ําแกง น้ําซุป น้ําผลไม้ให้มาก เพื่อช่วยให้น้ํานมมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566

โภชนาการสําหรับผู้สูงอายุ

 


โภชนาการสําหรับผู้สูงอายุ

- ผู้สูงอายุ คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

เมื่อพ้นวัยผู้ใหญ่แล้วจะมีการสลายของเซลล์มากกว่าการสร้าง ทําให้อวัยวะต่างๆ ทรุดโทรม และร่างกายแก่ลง เรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการแก่  ความแก่ จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพแข็งแรง มีการดําเนินชีวิตที่ดี ไม่เครียดจนเกินไป เซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ทําให้ไม่ค่อยแก่

การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่จําเป็น เพื่อช่วยให้สุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรค และช่วยให้เซลล์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงและเสื่อมสลายช้าลง

ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ

- อาหารที่กินควรลดปริมาณลง แต่เน้นในเรื่องคุณภาพให้มาก ผู้สูงอายุควรกินอาหารแต่พอควร และพยายามรักษาน้ําหนักร่างกายให้คงที่

- ให้ลดพลังงานในอาหารลงร้อยละ 10 เมื่ออายุ 60-69 เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ให้ลดลงร้อยละ 20 - กองโภชนาการ กรมอนามัย เสนอให้ลดลง 100 กิโลแคลอรีทุก 10 ปีที่เพิ่มขึ้น

อายุ 60 – 69 ปี ต้องการพลังงาน 1,450 กิโลแคลอรี

อายุ 70 ปีขึ้นไป ต้องการพลังงาน 1,250 กิโลแคลอรี

ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ

 พลังงานที่ผู้สูงอายุได้รับไม่ควรต่ํากว่า 1,200 กิโลแคลอรี เพราะจะทําให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

- คาร์โบไฮเดรตที่ผู้สูงอายุควรได้รับประจําวัน คือ ร้อยละ 55 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับใน 1 วัน - โปรตีน ผู้สูงอายุจําเป็นต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอเพื่อใช้ในการซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ผู้สูงอายุ ได้รับโปรตีนประมาณวันละ 1 กรัม ต่อน้ําาหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งจะได้จากอาหาร จําพวกนานม ไข่ เนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ

- ไขมัน ผู้สูงอายุควรกินไขมันแต่พอควร ไม่ควรเกินร้อยละ 25-30 ของปริมาณพลังงานทั้งหมด ผู้สูงอายุควรกินน้ํามันพืชมากกว่าไขมันจากสัตว์

ความต้องการเกลือแร่

- แคลเซียม ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเสี่ยงกับโรคกระดูกพรุน เนื่องจากเซลล์ของกระดูกมีการสลาย มากกว่าการสร้าง และโรคกระดูกพรุนภายในหญิงมากกว่าชาย การสูญเสียแคลเซียมที่กระดูก

ทําให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกหักง่าย

- เหล็ก ความต้องการเหล็กในผู้สูงอายุไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในหญิงจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจาก

ไม่มีการสูญเสียทางประจําเดือน

ความต้องการน้ํา

ผู้สูงอายุควรดื่มน้ําให้พอเพียงทุกวันอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร ในวันที่มีอากาศร้อนจัด ควรได้รับน้ําเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยน้ําที่สูญเสียทางผิวหนัง และเพื่อช่วยให้ไต ขับถ่ายของเสียได้ดีขึ้นน้ําที่ได้รับจะเป็นน้ําสะอาดหรือเครื่องดื่มจําพวกน้ําผลไม้หรือน้ํานมก็ได้

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ผลงานวิจัยของอาหารมังสวิรัติต่อสุขภาพ


 


ผลงานวิจัยของอาหารมังสวิรัติต่อสุขภาพ

ข้อมูลเรื่องผลของการบริโภคอาหารมังสวิรัตินี้ได้รับจากการศึกษาวิจัยอาหารมังสวิรัติในสัตว์ทดลองและในระบาดวิทยาของประชากรกลุ่มต่าง ๆ พบว่า อาหารมังสวิรัติ-เจ มีผลดีต่อการส่งเสริมสุขภาพในหลายด้าน ดังต่อไปนี้

1. การบริโภคอาหารมังสวิรัติ-เจที่ถูกต้องคือกินข้าวกล้อง ถั่ว งา ธัญพืช ผักผลไม้สด มากเพียงพอเป็นประจําจะมีผลดีในด้านสุขภาพ เป็นที่ยอมรับทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า อาหารมังสวิรัติทําให้สุขภาพดี เป็นอาหารที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด เนื่องจากคนอเมริกันมีปัญหา สุขภาพที่เกิดจากการกินอาหารและโภชนาการมากเกินไป ในปี 2539 นี้เอง ในสหรัฐอเมริกา (U.S. Senate Select Committee on Nutrition) ได้ยอมรับและประกาศอย่างเป็นทางการ จัดให้ อาหารมังสวิรัติเป็นอาหารที่เข้ากับเกณฑ์แนวทางการบริโภคอาหาร(dietary guideline) ของคนอเมริกันในปัจจุบันและในอนาคตได้มากที่สุดโดยมีปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอลต่ําคาร์โบไฮเดรต เชิงช้อนสูง น้ําตาลต่ํา และสารฆ่าแมลงตกค้างต่ํา จึงเป็นที่สนใจ และมีการศึกษาวิจัยซึ่ง กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ ได้ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนกินอาหารมังสวิรัติมากขึ้น

2. อาหารมังสวิรัติจะช่วยรักษาสุขภาพในโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ฯลฯ ได้ดี จากข้อมูลตัวอย่างจากรายงานวิจัยบางส่วน ดังต่อไปนี้

1) จากการสํารวจสัมภาษณ์กลุ่มคนไทยผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ 400 คน มีอายุระหว่าง 30-45 ปี พบว่าอาการของโรคหลายชนิดจะดีขึ้นหรือหายไป คือโรคหวัดและ แพ้อากาศ 126 ราย โรคกระเพาะ 82 ราย โรคปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย 67 ราย โรค ท้องผูกและริดสีดวงทวาร 60 ราย โรคปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย 59 ราย โรคปวดศีรษะ 43 ราย และโรคอื่นๆ อีกหลายชนิด

2) อาหารจากพืชมีโอกาสทําให้เกิดนิ่วและโรคเก๊าท์น้อยกว่าโปรตีนจาก เนื้อสัตว์ซึ่งมีพิวรีนสูงกว่า และกรดยูริคในเลือดและปัสสาวะของผู้กินอาหารมังสวิรัติจะต่ํากว่าผู้กิน อาหารเนื้อ และจะลดอัตราเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์ (Gout) มากกว่า 4

3) ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติจะมีระดับ serum cholesterol ต่ํา ความ ดันโลหิตต่ําา นํ้าหนักตัวไม่มากเกินไป อัตราการตายต่ํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรคหัวใจ (coronary heart disease) และโรคมะเร็ง การตายเนื่องจากมะเร็งเต้านมสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณไขมันสัตว์ ที่รับแต่ไม่สัมพันธ์กับไขมันจากพืช

4) ความดันเลือดของผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติจะต่ําเป็นปกติ จากข้อมูลของ กลุ่มผู้นับถือศาสนา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกนับถือเซเวนเดย์แอดเวนตีส (SDA) ซึ่งส่วนใหญ่งดเว้น เนื้อสัตว์ และกลุ่มที่สองนับถือมอร์มอน (Mormon) ซึ่งยังคงบริโภคเนื้อสัตว์อยู่ ผลการศึกษา พบว่า ความดันเลือดเฉลี่ยในกลุ่มแรกต่ํากว่าในกลุ่มหลัง 5-6 มม.ปรอท สําหรับความดันแบบ ซีสโตลิก (systolic BP) และ 4-5 มม.ปรอท สําหรับความดันแบบไดแอสโตลิก (diastolic BP) จึงได้ ทําการทดลองในคนทั่วไปที่มีสุขภาพสมบูรณ์ อายุ 25-63 ปี รวม 59 คน แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 148 คน กลุ่มที่เหลือบริโภคอาหารทั่วไปสลับกับอาหารมังสวิรัติทุก 2 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่ม เปรียบเทียบความดันโลหิตไม่เปลี่ยน แต่ในอีกกลุ่มทดลอง เมื่อกินอาหารมังสวิรัติแบบมีไข่และ นมได้ ความดันซิสโตลิกจะลดลง 5-6 มม. ปรอท และความดันไดแอสโตลิกจะลดลง 2-3 มม. ปรอท

เมื่อผู้ทดลองดังกล่าวกลับมาบริโภคอาหารเนื้อสัตว์ ความดันเลือดจะสูงขึ้นอีก

5) การให้อาหารมังสวิรัติแก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาความดันเลือดให้สูงและได้ผลดีนั้น เนื่องจากอาหารพืชผักมีเส้นใยอาหารที่ช่วยลดการดูดซึมไขมันในอาหารได้ 58-59 เป็นที่ยอมรับกันว่า

ไขมันและคอเลสเตอรอลมาเกาะหลอดเลือดหนาและแข็งมากขึ้นอาจจะทําให้เลือดไปหล่อเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจนั้นน้อยลงหรือไม่มีเลย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด ทําให้หัวใจวาย อัมพาตและเสียชีวิตได้ Adams และคณะแห่งมหาวิทยาลัยเวค ฟอเรสต์ สหรัฐฯ (Wake Forest University) พบว่า การกินผักผลไม้สีเหลือง-แดง-เขียว เช่น หัวแครอท บร็อคโคลี่ ข้าวโพด ถั่วลันเตา และถั่วชนิดต่างๆ จะช่วยป้องกันหลอดเลือดไม่ให้แข็งตัวได้ จากการศึกษาในหนูทดลอง จํานวนหนึ่งซึ่งเพาะพันธุ์ขึ้นโดยการดัดแปลงยีน (receptor/-, apolipoprotein B transgenic mouse) ทําให้เป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน หนูกลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ไร้ ผัก หนูกลุ่มที่สองเลี้ยงด้วยผักสีต่างๆ ปรากฏว่า พวกหนูที่กินผักจะมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และคราบสีเหลืองของไขมันและคอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่บนเยื่อบุผิวชั้นในของหลอดเลือดนั้น น้อยกว่าของหนูที่กินอาหารปกติถึง 38% แสดงว่าผักดังกล่าว สามารถป้องกันโรคหลอดเลือด แข็งและโรคหัวใจได้

6) จากการศึกษาในผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ 98 คน เทียบกับคนทั่วไปที่มี สุขภาพ ฯลฯ คล้ายคลึงกัน พบว่าความดันโลหิตในกลุ่มมังสวิรัติ 126/77 แต่ในคนทั่วไปเท่ากับ 147/88 ในกลุ่มมังสวิรัติพบเพียง 2% ที่ความดันโลหิตสูง ส่วนอีกกลุ่มทั่วไปพบความดันโลหิตสูง ถึง 26% และพบว่ากาแฟ บุหรี่ ฯลฯ ไม่สู้จะมีผลนัก แต่พบธาตุโปแตสเซียมในปัสสาวะของกลุ่ม มังสวิรัติสูงกว่ามาก แต่ระดับของโซเดียมไม่แตกต่างกัน สันนิษฐานว่า ธาตุโปแตสเซียมซึ่งเป็นสาร ที่มีมากในอาหารมังสวิรัติจะเกี่ยวข้องกันการลดความดันโลหิต

7) จากการวิเคราะห์อาหารใน 24 ชั่วโมงของกลุ่มมังสวิรัติที่ไม่กินนมและไข่ (vegan) 6 คน ทั้งชายหญิงในสวีเดน โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มกินอาหารทั่วไปที่มีน้ําหนักตัว ความดัน และมีอายุใกล้เคียงกัน พบว่าได้พลังงานจากไขมันต่ํากว่า แต่ได้รับกรดไลโนเลอิกสูงกว่า ปริมาณโปรตีนและกรดอะมิโนจําเป็นที่กลุ่มมังสวิรัติได้รับพอเพียงกับความต้องการร่างกาย และระดับสารไลโปโปรตีนในซีรัม (serum lipoprotein) ปกติ ได้รับเส้นใยอาหารสูงกว่าทั่วไป ประมาณ 6 เท่า โปแทสเซียมสูงกว่าประมาณ 2 เท่า แมกนีเซียมสูงกว่าประมาณ 3 เท่า เหล็กสูงกว่า 50% ทองแดงสูงกว่า 3 เท่า ไอโอดีนต่ํากว่า 4 เท่า เซลีเนียม (Se) น้อยกว่า 3 เท่า กรดโฟลิคสูงกว่า 3 เท่า แต่วิตามิน B12 ต่ํากว่าถึง 10 เท่า แต่ไม่พบอาการของโรคขาดสารอาหาร 8) จากการศึกษาระดับจํานวนเม็ดเลือดแดง (hematocrit) และเฟอร์ริติน(ferritin)ซึ่งเป็นโปรตีนที่จับเหล็กในซีรัมในผู้ที่งดอาหารเนื้อสัตว์ 139 คน เปรียบเทียบกับผู้บริโภค 102 คน พบว่าในผู้ที่งดกินเนื้อจะมีค่าต่ํากว่า โดยที่เฟอร์ริตินจะต่ํากว่า 12 g/ ลิตร ใน 5.5% ของสตรีที่งดเนื้อ แต่ใน 3% ของสตรีที่บริโภคเนื้อ ส่วนในบุรุษไม่พบความแตกต่างกัน

9) ในคนอังกฤษที่รับประทานมังสวิรัติ ส่วนใหญ่จะมีระดับฮีโมโกลบิน (hematocrit) ต่ํากว่าปกติ แต่เป็นที่น่าสนใจว่า ในสตรีอายุต่ํากว่า 65 ปี ระดับ Hb ที่สูงจะเป็น สัดส่วนโดยตรงกับระดับคอเลสเตอรอลในซีรั่ม และผู้ที่มีระดับ hematocrit สูง (ค่าเฉลี่ย > 46%) มักจะเสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่มี hematocrit ต่ํากว่า (ค่าเฉลี่ย 36%)

10) ผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ กระดูกและฟันจะแข็งแรงกว่า โอกาสเป็นโรค กระดูกผุ (osteoporosis) น้อยกว่า ซึ่งอาจเนื่องจากผลของเนื้อสัตว์ต่อการขับ Ca และเนื่องจาก ความสมดุลของกรดด่างในร่างกาย เพราะเนื้อสัตว์มีความเป็นกรดสูง มีเถ้าหรือสารเกลือแร่และกํามะถันสูง

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ผลกระทบในการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์มากจนเกินไป


ผลกระทบและปัญหาที่เกิดจากการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

เป็นที่ปรากฏนั้นมี 4 ด้าน คือ 1. ด้านสุขภาพ

ต่อไปนี้

2. ด้านจิตใจ

3. ด้านสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยา

4. ด้านเศรษฐกิจ

ปัญหาทั้ง 4 ด้านเป็นเหตุผลของการลดหรือการละเว้นอาหารเนื้อสัตว์ ดังรายละเอียดด้านสุขภาพ

ในหลายประเทศทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กําลังพัฒนา มีการระบาด ของ โรคไม่ติดต่อแต่เรื้อรัง (chronic diseases) และร้ายแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคมะเร็งหลายชนิด และกลุ่มโรคทางเมตะบอลิสม์ (metabolic syndrome) ซึ่งได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นต้น ทําให้คนอเมริกันสามในสี่ตาย ด้วยโรคใดโรคหนึ่งดังกล่าวเป็นประจําทุกปี

สาเหตุหลักที่สําคัญของการระบาดกลุ่มโรคเมตะบอลิสม์ในประชากรมีสองสาเหตุ คือ เกิดจากการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์มากจนเกินความจําเป็นของร่างกายทําให้

สุขภาพเสื่อมและเสี่ยงต่อการเกิดโรค และการบริโภคอาหารจากพืชผักผลไม้ในปริมาณที่ไม่มาก

เพียงพอ จึงทําให้ขาดสารสําคัญทางชีวภาพที่ป้องกันการเกิดโรคและช่วยให้สุขภาพแข็งแรง อาหารเนื้อสัตว์มีปริมาณของสารไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง การเลี้ยงดูแลสัตว์ ในฟาร์มมักจะใช้สารเคมีหลายชนิด จึงอาจมีสารเคมีตกค้าง ผู้ที่บริโภคอาหารเนื้อสัตว์จะมีโอกาส ได้รับสารเคมีที่ใช้ปรุงแต่งอาหาร เช่น ไนเตรท ไนไตรท์ สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งการเติบโต ยาปฏิชีวนะ สารกระตุ้นการเจริญอาหาร ยากล่อมประสาท ฯลฯ รวมทั้งยาฆ่าแมลงเหลือสะสม ในไขมันสัตว์ สารพิษตกค้างเหล่านี้อาจก่อมะเร็งได้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (อ่านรายละเอียด เพิ่มเติมในบทที่ 2 เรื่อง อาหารแมคโครไบโอติก และบทที่ 12 เรื่อง อาหารปลอดจากสารพิษ) นอกจากนี้ การระบาดของโรคไม่ติดต่อแต่เรื้อรังยังเกิดจากการกินอาหารเนื้อสัตว์ ตามนิสัยส่วนตัว ตามอาชีพ ตามฐานะรายได้ และตามกระแสความนิยม ซึ่งเราจะมีอาหาร ไทย-จีนประเภทเนื้อสัตว์และไขมันสูงที่มีจําหน่ายอยู่ในร้านอาหารทั่วไปในประเทศไทยมานานแล้ว เช่น อาหารที่เป็นเนื้อทอด ปิ้ง-ย่าง อาหารจานเดียวที่เป็นข้าวขาหมู หมูพะโล้ ข้าวมันไก่ และ

ข้าวหน้าเป็ด เป็นต้น ในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ มีบริษัทใหญ่ๆ จากนอกประเทศได้รณรงค์

และโฆษณาชักชวนคนรุ่นใหม่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้บริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์และไขมันสูง

นม เนย และไข่ เพิ่มมากขึ้น โดยสร้างกระแสนิยมอาหารใหม่ดังกล่าวในทุกรูปแบบและรสชาติ ทั้งอาหารคาว-หวาน เช่น อาหารสําเร็จรูป อาหารจานด่วน (fast foods) ไก่ทอด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก พิซซ่า เนื้อเกาหลี หมูกะทะ โดนัท และไอศกรีม เป็นต้น ทําให้ คนรุ่นใหม่สนใจทดลองบริโภคและติดใจในรสชาติอาหารจนเป็นนิสัยชอบกินเป็นประจํา และด้วย สาเหตุนี้ ทําให้มีการกินอาหารเนื้อสัตว์มากขึ้นในประเทศไทยเป็นเงาตามตัว (อ่านรายละเอียด เพิ่มเติมในบทที่ 1 เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ)

มีงานวิจัยและระบาดวิทยามากมายในต่างประเทศ 7. 78 ได้ยืนยันว่าการบริโภคอาหาร สําเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมและอาหารจานด่วนดังกล่าว

ซึ่งเปรียบเทียบว่า เป็นอาหารขยะ (junk foods) ซึ่งขาดคุณสมบัติทางโภชนาการที่ดี มีแป้ง น้ําตาล ไขมัน และ โปรตีนมากเกิน แต่ขาดเส้นใยอาหาร วิตามิน และสารสําคัญทางชีวภาพอื่นๆ จะทําให้คน บริโภคอาหารดังกล่าวเป็นประจําเสี่ยงเป็นโรคอ้วนและโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น จนโรคมะเร็งและโรคหัวใจและหลอดเลือดกลายเป็นสาเหตุสําคัญอันดับที่ 1 ของการตายในประชากรหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทยได้มีการอภิปรายปัญหาและความวิตกกังวลในวงการขององค์กรและกลุ่มวิจัย

ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านอาหารและพฤติกรรมในการบริโภคของประชากรเช่นกัน จาก การสํารวจสุขภาพชาวเกาหลีในประชากรวัยรุ่น อายุระหว่าง 12-19 ปี ในปี ค.ศ.1998 (n = 1317) และ 2001 (n = 848) ใช้ตัวชี้วัดความอ้วนและความเสี่ยงในโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน และโดยวัดเส้นรอบเอว ความดันโลหิต ระดับไตรกลีเซอไรด์และไลโปโปรตีนในเลือด

และระดับน้ําตาลกลูโคสในเลือด พบว่า ตัวชี้วัดดังกล่าวมีแนวโน้มสูงมากขึ้นอย่างชัดเจน อัตรา เสี่ยงโรคอ้วนและโรคทางเมตะบอลิสม์เพิ่มมากขึ้น อัตราการเกิดโรคทางเมตะบอลิสม์ในวัยรุ่น



 

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อาหารชีวจิตเพื่อสุขภาพ

 

จากอาหารแมคโครไบโอติกดัดแปลงเป็นอาหารชีวจิต

เนื่องจากในช่วงระยะ 15 ปีที่ผ่านมา มีการเผยแพร่อาหารชีวจิตและการนําไปใช้ อย่างแพร่หลายทั่วไปในประเทศไทย คนส่วนใหญ่อาจจะมีความสับสนว่า อาหารชีวจิตคืออะไร? แตกต่างกันกับอาหารแมคโครไบโอติกอย่างไร? และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากน้อยอย่างไร? เพื่อให้ได้คําตอบดังกล่าว จึงนําข้อมูลที่เกี่ยวกับอาหารชีวจิตมาเสนอเปรียบเทียบดังนี้

อาหารชีวจิตมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2539 โดย ดร.สาทิส อินทรกําแหง นักโภชนาการอาวุโส ซึ่งมีประสบการณ์ในอาหารแมคโครไบโอติกมานาน ท่านได้ เล็งเห็นว่าคนไทยได้หันไปรับประทานอาหารกลุ่มขยะที่ไร้คุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น ทําให้ คนไทยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน มากขึ้นด้วย ดร.สาทิส อินทรกําแหง จึงได้ดัดแปลงหลักการของอาหารแมคโครไบโอติกซึ่งแพร่หลายในกลุ่มคนใน ประเทศอเมริกาและยุโรปมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมสําหรับการดําเนินชีวิตและวิถีสุขภาพ ของคนไทยมากขึ้น จนเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายอย่างกว้างขวาง เพราะว่าจัดหาได้ง่าย การปรุง ไม่ผ่านขั้นตอนมาก และสะดวกต่อการรับประทาน จึงเป็นที่ยอมรับในประชาชนคนไทยมาตลอด

หลักการและความรู้พื้นฐานของชีวจิต

1. อาหารกลุ่มผัก ใช้ผักดิบสดและผักสุกประมาณอย่างละครึ่ง เป็นแหล่งของสาร อาหารที่หลากหลาย คือ วิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร ควรใช้ผักอินทรีย์ที่ปลอดสารเคมี และปลอดสารฆ่าแมลงจะดีที่สุด แต่ถ้าซื้อจากตลาด ควรเลือกผักปลอดสาร แช่น้ํานานๆ และ แช่ด่างทับทิมด้วยปริมาณที่ใช้กินประมาณ 25% ของแต่ละมื้อ

2. อาหารกลุ่มถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วดํา และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร น้ําเต้าหู้ เต้าส่วน เต้าทึง เป็นต้น เป็นแหล่งของสารอาหารโปรตีน ไขมัน และเส้นใยอาหาร ปริมาณที่กินประมาณ 15% ของแต่ละมื้อ จะใช้ปลาหรืออาหารทะเลได้ ประมาณอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง

3. อาหารกลุ่มเมล็ดพืช เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม ผลไม้เขียว และผลไม้ ที่ไม่มีรสหวาน แต่มีรสฝาด เช่น ฝรั่ง มะม่วงดิบ เป็นต้น เป็นแหล่งของสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน แร่ธาตุและสารสําคัญทางชีวภาพอื่นๆ ที่หาได้ยากในอาหารทั่วไป เช่น สังกะสี และ สารแอนติออกซิแดนท์ ปริมาณที่ใช้ราวๆ 10% ของแต่ละมื้อ นอกจากนี้ มีการใช้รูปแบบอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ได้แก่ น้ําอาร์ซี (RC = Rejuvena tion Concoction) ที่ได้จากน้ําจากการต้มข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ น้ําแกง หรือน้ําซุป เช่น แกงจืด หรือ แกงเลียง ซึ่งควรรับประทานก่อนอาหาร รวมทั้งสาหร่ายทะเล งาสด และงาคั่ว อาหารชีวจิตที่ควรงด เป็นอาหารที่ทําลายสุขภาพ จึงสมควรงดหรือลดให้น้อยที่สุดได้แก่ อาหาร 4 กลุ่ม

1. อาหารที่ได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อ หมู ไก่

2. อาหารรสหวานจากน้ําตาลขาวทุกชนิด ขนม และเครื่องดื่มที่ทําจากน้ําตาล เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง เค้ก ไอศกรีม น้ําหวานต่างๆ

3. อาหารที่ใช้น้ํามัน นม เนย กะทิ

4. ข้าวที่ขัดสี หรือ แป้งขาวทุกชนิด เช่น ข้าวขาว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปังขาว

สําหรับการงดการดื่มนม ทางชีวจิตได้ส่งเสริมการใช้โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์นมที่ผ่านการหมักด้วยเชื้อนมเปรี้ยว (Lactobacillus bacteria) ทดแทนได้ และการ กินปลาก็กินได้ทั้งก้างเพื่อจะได้แร่ธาตุ เช่น แคลเซียมและฟอสเฟตด้วยในด้านทางโภชนาการ การกินอาหารชีวจิตเป็นการดัดแปลงรูปแบบอย่างเหมาะสมกับรสนิยมของคนไทย โดยไม่มีการขัดแย้งกับข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี เช่นเดียวกับ อาหารธรรมชาติอื่น เช่น อาหารแมคโครไบโอติก อาหารมังสวิรัติ แต่อาหารชีวจิตมีการระบุ สัดส่วนของอาหารในกลุ่มต่างๆ เพื่อให้ได้รับสารอาหารทุกกลุ่มตามที่ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแนะนําไว้ รวมถึงการงดอาหารบางอย่างที่เป็นพิษและทําลายสุขภาพ ถ้ามีการนําอาหาร ชีวจิตไปปฏิบัติจริง เหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและ น่าจะลดความเสี่ยงต่อโรคแห่งความเสื่อมทั้งหลาย

สําหรับการปฏิบัติทางด้านจิตใจ ด้านจิตใจมีเป้าหมายสําคัญที่สุดคือความสงบ ซึ่งอาศัย ธรรมชาติเป็นปัจจัยที่จะทําให้จิตใจเกิดความสงบ เกิดปัญญา มองเห็นสัจธรรมของโลกและชีวิต จุดสูงสุดของสัจธรรมนี้คือความหลุดพ้น ซึ่งแต่ละคนย่อมมีหนทางและแนวทางเป็นของตนเอง ในขณะเดียวกัน ชีวิตความเป็นอยู่ก็ต้องไปตามธรรมชาติ คือใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์และเรียบง่าย การดํารงชีวิตจึงควรพักอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ไม่มีความแออัด ควรออกกําลังกายหรือ กายบริหารอย่างสม่ําเสมอ มีการดื่มน้ําสะอาดและน้ําชาสมุนไพร มีการขับสารพิษ (“ดีท็อกซ์” detoxification) โดยการสวนทางทวารหนักด้วยน้ํากาแฟ น้ํามะขาม น้ํามะนาว หรือ น้ําอุ่น เป็นวิธีกําจัดสารพิษหรือท็อกซิน (toxin) ที่คั่งค้างอยู่ในลําไส้ใหญ่ออกจากร่างกาย มีการพักผ่อน จิตใจและการฝึกสมาธิ ชีวิตที่เป็นไปตามธรรมชาติจะเป็นชีวิตที่มีอายุยืน แข็งแรง มีความสุข สดชื่นตลอดเวลา

วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566

กินเนื้อมาก เสี่ยงมะเร็งลําไส้



    ยืนยันตรงกันว่า การรับประทานเนื้อแดงและเนื้อสําเร็จรูปเพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้น แนะให้คน บริโภคเนื้อให้น้อยลง สําหรับผู้ที่คิดว่ากินผักและผลไม้แล้วสามารถต้านมะเร็งทรวงอกได้ คงต้อง คิดใหม่ วารสารสมาคมแพทย์อเมริกันเปิดเผยงานศึกษาล่าสุดยืนยันความเกี่ยวข้องกันระหว่าง

โรคมะเร็งลําไส้กับการรับประทานเนื้อ โดยทีมงานได้ติดตามข้อมูลสุขภาพของอาสาสมัคร จํานวน 148,610 คน อายุระหว่าง 50-74 ปี เป็นเวลานาน 10 ปี ซึ่งนิยมกินเนื้อเป็นชีวิตจิตใจ ผลสํารวจพบว่า ผู้ที่ชอบกินเนื้อแดงมากเกินระดับที่กําหนดปริมาณบริโภคต่อวัน มีโอกาสเสี่ยง เป็นมะเร็งลําไส้เล็กมากกว่าผู้ที่ไม่ค่อยรับประทานเนื้อ ทั้งนี้ ผู้ชายที่รับประทานเนื้อแดงอย่างน้อย 85 กรัม (เบอร์เกอร์หนึ่งชิ้น) ต่อวัน และสําหรับผู้หญิงคือ 56 กรัมต่อวัน จัดว่าบริโภคเนื้อแดง ระดับสูง สําหรับผู้ที่กินเนื้อที่ผ่านกระบวนการอย่างเช่น เบคอน ไส้กรอก ฮอทดอก ในปริมาณที่ มากเกินควรบริโภคต่อวันมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 50% เทียบกับผู้ที่รับประทานอาหารประเภทนี้น้อยที่สุด ส่วนระดับที่ถือว่าบริโภคเนื้อผ่านกระบวนการอัตราสูง ได้แก่ การบริโภคในอัตรา สัปดาห์ละ 141-176 กรัม เป็นอย่างต่ําสําหรับผู้ชาย และ 56-85 กรัมเป็นอย่างสูงสําหรับผู้หญิง คิดง่ายๆ คือ เนื้อแฮมแผ่น 1 ชิ้น หนักประมาณ 56 กรัม เนื้อที่ปรุงสุกแล้วอาจทําให้เกิดสารฮีเทอโรไซคลิกเอมิน สารที่เป็นตัวก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ธาตุเหล็กในเนื้ออาจมีปฏิกิริยากับลําไส้และก่อให้เกิดมะเร็ง นอกจากนี้ สารประกอบไนเตรทในเนื้อที่ผ่านกระบวนการอาจเกี่ยวโยงกับโรคมะเร็งด้วย อย่างไรก็ดี นักวิจัย จากสมาคมมะเร็งอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ดําเนินการวิจัยกล่าวว่า เขาไม่ได้ต้องการให้คนเลิกรับประทาน เนื้อ แต่เพื่อเป็นการกันไว้ก่อน ควรลดการบริโภคเนื้อให้น้อยลง โดยเฉพาะเนื้อติดมัน และให้ รับประทานพวกถั่ว ปลา และไก่แทน

งานวิจัยอีกชิ้นได้ดําเนินการศึกษากับสตรีจํานวน 285,526 คน อายุระหว่าง 20-70 ปี จาก 8 ประเทศ โดยติดตามผลการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี นักวิจัยพบว่า การรับประทาน ผักและผลไม้เป็นจํานวนมากๆ ไม่สามารถป้องกันทรวงอกของสตรีให้รอดพ้นจากภัยมะเร็งได้ แม้ผักและผลไม้เหล่านี้มีสารพิเศษบางชนิดที่ป้องกันมะเร็งได้ก็ตาม

ในสหัสวรรษนี้กระแสการดูแลสุขภาพในแนวทางของการแพทย์ทางเลือกได้รับ ความสนใจจากประชาชนทั่วโลกมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการกิน เราได้ตระหนักรู้ว่า “เราเป็นอย่าง ที่เรากิน เราคิด เราพูด เราทํา” การกินทําให้เรามีชีวิต มีเรี่ยวแรง มีพลังที่ใช้ในการดําเนินชีวิต ประจําวัน รวมทั้งมีภูมิต้านทานโรคเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพที่ดี ดังนั้น การกินจึงเกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างแน่นอน ปัจจุบันแนวทางเกี่ยวกับการกินเพื่อสุขภาพนั้นมี มากมาย จนทําให้ผู้คนสับสน กระทั่งไม่รู้ว่าจะเชื่อแนวทางหรือทฤษฎีไหนดี แนวทางในการ พิจารณานั้นน่าจะเริ่มจากตนเองก่อน ลองถามตนเองด้วยคําถามดังต่อไปนี้

1. ชีวิตคืออะไร ?

2. เรามาจากไหน ?

3. เราเกิดมาในโลกนี้เพื่ออะไร ?

4.ใครเป็นเจ้าของตัวเราอย่างแท้จริง ?

5.สุดท้ายเราจะต้องไปที่ไหนต่อ ?

หากเราสามารถตอบคําถามทั้งหมดนี้ด้วยปัญญาที่แท้จริงของเราเอง หรือมีศาสตร์ หรือทฤษฎีใดที่สามารถชี้นําให้แนวทางคําตอบได้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็น่าจะเป็นแนวทางให้เราได้ เข้าถึงการมีชีวิตและสุขภาพดีได้ แมคโครไบโอติกเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสนอแนวปฏิบัติเพื่อให้ มนุษย์มีสุขภาพดี มีความสุข และมีอิสรภาพในชีวิตประจําวัน

 

ดูแลสุขภาพยังไงให้ร่างกายห่างไกลมะเร็ง

 



ปัญหาสุขภาพของคนไทยทุกวันนี้ ส่วนสําคัญเกิดจากปัญหาสารพิษในอาหาร ซึ่งมีถึง9 ชนิดอันตราย และมีถึง 6 ชนิดร้ายแรงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แฝงตัวอยู่ในอาหารนับร้อยชนิด ที่คนไทยบริโภคอยู่ทุกวัน ไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่ปัจจุบันโรคมะเร็งจะกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง แซงหน้าอุบัติเหตุและโรคหัวใจที่เป็นแชมป์เก่า ซึ่งแต่ละปีมีผู้ป่วย ถึงปีละ 90,000 ราย และเสียชีวิตถึงปีละเกือบ 40,000 ราย และที่น่าตกใจคือ จากการสํารวจล่าสุด พบว่าอายุของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีอายุเฉลี่ยลดน้อยลง จากเดิมผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 60 ปี ขึ้นไป แต่ปัจจุบันมีอายุเฉลี่ย 30-40 ปีเท่านั้น สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งนั้น เกิดจากสารพิษในอาหารมากถึง 50% ของผู้ป่วย ทั้งหมด สาเหตุที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในขณะนี้คือ ปัจจัยจากภายนอก ได้แก่ สารเคมีที่เกิดจาก อาหาร ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้โรคร้ายชนิดนี้กําลังแพร่ขยายเพิ่มขึ้น พร้อม ๆ กับพฤติกรรม การบริโภคของคนไทย ที่นิยมบริโภคแบบตะวันตก สะดวกซื้อ อร่อยปาก อาหารทะเลสดมีการ ตรวจพบว่า ที่ขายอยู่ตามท้องตลาดมักจะใช้ฟอร์มาลินหรือน้ํายาอาบศพเป็นน้ํายาแช่ เพื่อช่วย ให้คงความสด ไม่เน่าเสียง่าย ดังนั้นอาหารทะเลสดที่ปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ ปลาจ่อม ปลาร้า ก้อยปลา กุ้งแช่น้ําปลา จึงเป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัย และจากการวิจัยพบว่าหากบริโภคเป็นประจํา นอกจาก พิษภัยจากสารฟอร์มาลินที่เข้าไปทําลายระบบทางเดินอาหาร ตับไต หัวใจ และสมองแล้ว ยังพบ ว่ามีพยาธิใบไม้ตับที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณท่อน้ําดีในตับอีกด้วย นอกจากนี้ อาหารประเภทหมัก เช่น แหนม ไส้กรอก แฮม กุนเชียง ซึ่งมักจะใส่ดินประสิวหรือเกลือไนไตรทผสมอาหาร ยืนยันแล้ว มีสารก่อมะเร็งชนิดไนโตรซามีน โดยจะมีผลก่อให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณกระเพาะอาหารและบริเวณตับสารก่อมะเร็งชนิดร้ายแรงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผู้ผลิตอาหารนิยมนํามาใช้ คือ สารบอแรกซ์ โดยสารชนิดนี้มีคุณสมบัติให้สารประกอบเชิงซ้อนกับสารอินทรีย์ในอาหาร ทําให้อาหารมีลักษณะ ยืดหยุ่น กรอบ อร่อย และมีรสชาติยั่วยวนใจ อาหารที่สารดังกล่าวเจือปนแบ่งเป็น 4 ประเภท ประเภทแรก คือ เนื้อสัตว์บด หมูบด ไก่บด เนื้อปลาบด ลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเนื้อ ประเภทที่สอง คือ เนื้อสัตว์ทั่วไป คือ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา ประเภทที่สาม คือ ขนมจากแป้ง คือ ทับทิมกรอบ รวมมิตร ลอดช่อง แป้งกรุบ บัวลอยเผือก

ประเภทที่สี่ คือ ของหวานและผลไม้ดอง เช่น เผือกกวน วุ้นกะทิ สาคูกะทิ ถั่วแดงในข้าวเหนียวตัด มะม่วงดอง มะดันดอง เป็นต้น ผู้ที่ชอบอาหารประเภททอด ปิ้ง ย่าง ทุกชนิด ต้องพึงระวัง และลดการบริโภค

ลงบ้าง ไม่ว่าจะเป็นไก่ทอดหาดใหญ่ หมูปิ้งเลิศรส ซึ่งขายอยู่ตามแผงตลาดสด รวมไปถึงไก่ทอด เฟรนช์ฟราย ขนมปังกรอบ ข้าวโพดแผ่นกรอบ โดยเฉพาะอาหารฟาสต์ฟู้ดชื่อดัง ซึ่งถือเป็น ร้านสะดวกซื้อ สะดวกกิน หรือที่บางคนเรียกว่า “อาหารจานด่วน” ซึ่งหลายคนคิดว่าปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการ แข็งแรง ขอให้คิดใหม่ว่า ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คุณคิดอีกแล้ว!! รวมทั้ง อาหารประเภทขบเคี้ยวชนิดต่างๆ เช่น มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ขนมปังแคร็กเกอร์ ซึ่งเด็ก ส่วนใหญ่โปรดปราน มีการยืนยันแล้วว่าพบสารอันตรายที่ผู้บริโภคควรต้องรีบหลีกเลี่ยง ทั้งนี้ จากรายงานของนักโภชนาการทั้งไทยและต่างประเทศตรวจพบว่า ของทอด ปิ้ง ย่างทุกชนิด ล้วนมีสารก่อมะเร็ง คือ เฮทเทอโรชัยคลิกเอมีน และสารอะคริลาไมด์ ซึ่งเป็นสารอันตรายที่ แฝงตัวอยู่อาหารประเภทดังกล่าว โดยเฉพาะสารอะคริลาไมด์ มีรายงานล่าสุดจากสวีเดนและ อังกฤษ ตรวจพบว่า อาหารที่พบสารอะคริลาไมด์ในปริมาณสูงมักเป็นอาหารที่ได้รับความร้อนสูง เป็นเวลานาน ซึ่งหมายถึง อาหารที่ผ่านการทอดซ้ําหลาย ๆ ครั้ง ปิ้งจนไหม้เกรียม หากผู้บริโภค ได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในระยะเวลาต่อเนื่องกัน จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ในอัตราที่สูงมากๆ

2. การบริโภคอาหารเนื้อสัตว์และการเกิดโรคมะเร็ง

วงการแพทย์มีการพิสูจน์แล้วพบว่า ผู้บริโภคอาหารประเภทนี้เป็นประจํา จะก่อ ให้เกิดโรคมะเร็งที่บริเวณลําไส้ใหญ่ เต้านม ตับ และต่อมลูกหมาก 2.1 เนื้อสัตว์ อันตราย โดยเฉพาะเนื้อหมู ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประกาศเตือนว่า ปัจจุบันนี้เป็นภัย หมายเลขหนึ่งสําหรับผู้บริโภคและกําลังเร่งแก้ปัญหา เนื่องจากตรวจพบว่าเขียงหมูแทบจะ ทุกเขียงทั่วประเทศขายเนื้อหมูที่มีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ในปริมาณสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นสารเร่ง เนื้อแดง เพื่อทําให้เนื้อหมูมีสีแดงน่ารับประทาน ซึ่งเกิดจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยง

2.2 สารก่อมะเร็งจากอาหารปิ้ง ย่าง ทอด

1) สารไนโตรซามีน (nitrosamine)

สารไนโตรซามีน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งในตับ มะเร็ง หลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารในคน อาหารที่พบไนโตรซามีนได้แก่ ปลาหมึกย่าง ปลาทะเลย่าง อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ที่ใส่สารไนเตรท ไนไตรท์ เป็นสารกันบูด สารไนโตรซามีนจํานวน 4 ชนิด ที่ได้รับการพิสูจน์แน่นอนแล้วว่าเป็น สารก่อมะเร็ง ได้แก่ ไดเมธิลไนโตรซามีน ทําให้เกิดมะเร็งที่ตับ ไดเอธิลไนโตรซามีน ทําให้เกิด มะเร็งที่ตับและหลอดอาหาร เมธิลเบนซิลไนโตรซามีนและเมธิลเฟนิลไนโตรซามีน ทําให้เกิด มะเร็งหลอดอาหาร นอกจากนี้ สารบางอย่างที่ใช้ปรุงรสอาหารอาจเป็นตัวเพิ่มการเกิดไนโตรซามีน

2) สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates)

สารพัยโรลัยเซต เป็นสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลเป็นวงแหวน heterocyclic aromatic ring ของเอมีน ซึ่งได้แก่ พวกกรดอะมิโน เช่น tryptophan glutamic acid phenylalanine lysine เป็นต้น ถูกทําลายโดยความร้อนสูงจนกลายเป็นสารใหม่ที่มีโมเลกุลซับซ้อนมากขึ้น พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์สูงมาก จากการศึกษาฤทธิ์ต่อ การกลายพันธุ์ของพัยโรลัยเซต พบว่าสารกลุ่มนี้บางชนิดมีฤทธิ์ร้ายแรงทางพันธุกรรมมากกว่า สารอะฟลาทอกซินตั้งแต่ 6-100 เท่า สารพัยโรลัยเซตสามารถรวมตัวทางชีวเคมีกับดีเอ็นเอ แล้ว เป็นสารก่อการกลายพันธุ์ได้

โรคหัวใจและหลอดเลือด


 

โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease-IHD หรือ coronary artery disease) รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease-CVD) และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) ประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรค หัวใจและหลอดเลือด คือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา และไม่ออกกําลังกาย ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้คือ กรรมพันธุ์ เพศ เผ่าพันธุ์ และอายุ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) คือ ระดับไขมัน ในเลือดที่มีคอเลสเตอรอลมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (มก./ดล) ระดับ HDL-cholesterol- C (HDL-C) หรือไขมันดี น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับ LDL-cholesterol-C (LDL-C) หรือไขมันเลว มากกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร ปัจจัยเสี่ยงNational Cholesterol Education Program: Expert Panel on Detection, Evalua- tion and Treatment of High Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III) ได้กล่าวถึง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งได้แก่

1. มีประวัติคนในครอบครัวที่มีการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดโดยเฉพาะผู้ชายที่มีญาติ เป็นโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่อายุน้อยกว่า 55 ปี และในญาติผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด เมื่ออายุน้อยกว่า 65 ปี

2. เพศ เพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า

3. อายุ ในเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงในวัยหมดประจําเดือน ตั้งแต่อายุ 55 ปี

4. สูบบุหรี่

5. มีไขมันในเลือดสูง HDL - Cholesterol น้อยกว่า 40 มก./ดล.

6. โรคความดันโลหิตสูง (140/90 มิลลิเมตรปรอท)

7. โรคเบาหวาน

8. โรคอ้วน

 9. โรคเครียด

10. ขาดการเคลื่อนไหวและการออกกําลังกาย

การป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง

1.จํากัดการรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่ให้เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด ที่ได้รับ หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในไขมันสัตว์ น้ํามันมะพร้าวและน้ํามันปาล์ม ลดปริมาณ อาหารที่มีสารคอเลสเตอรอลซึ่งพบในอาหารพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ ตับวัว ตับหมู อาหารทะเลหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยนางรม ปลาหมึก ไข่ปลา ฯลฯ มีข้อมูลจากงานวิจัย ที่ผ่านมาพบว่าระดับคอเลสเตอรอลในเลือดมีส่วนสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 200 มก./ดล. หรือมีระดับ LDL-C 130 มก./ดล. ต้องจํากัดอาหารประเภทน้ําตาล ขนมหวาน กะทิ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และออกกําลังกายสม่ําเสมอ และกรณี ที่คอเลสเตอรอลสูงและไตรกลีเซอไรด์สูง คือมี LDL-C และ VLDL สูง ต้องจํากัดการรับประทาน ไขมันอิ่มตัว (ไขมันสัตว์) ให้น้อยที่สุด ลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และควรลดอาหารประเภท แป้ง น้ําตาล ขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรรักษาอัตราส่วนของ HDL ต่อ LDL ให้พอเหมาะคือ 3 และไม่ควรเกิน 4

2.ควบคุมน้ําหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน นักวิจัยพบว่าภาวะน้ําหนักเกินและโรคอ้วน มีความสัมพันธ์กับ   คอเลสเตอรอล โดยทําให้เกิดการเผาผลาญที่ผิดปกติ

3.เพิ่มปริมาณใยอาหาร ใยอาหารพบได้ในผัก ผลไม้ และธัญพืช ใยอาหารที่ละลาย น้ําได้ เช่น เพคตินในส้ม แอปเปิ้ล และมะนาว เบต้ากลูแคนในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต มีผลต่อ การลดระดับคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดได้ โดยจะดูดซับเอากรดน้ําดีไว้ และขับออกมาใน อุจจาระ ทําให้ร่างกายต้องดึงคอเลสเตอรอลมาใช้เพื่อสร้างน้ําดี คอเลสเตอรอลในเลือดก็ลดลง

4.หมั่นออกกําลังกายและเคลื่อนไหว การออกกําลังกายแบบแอโรบิกมีผลต่อการ เพิ่มระดับของ HDL-C และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ แต่ไม่มีผลต่อการลดระดับคอเลสเตอรอลรวม และ LDL-C การออกกําลังกายครั้งละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 2-5 ครั้ง จะมีผลทําให้อัตราการ เต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น 50-70% มีผลทําให้ระดับ HDL-C ขึ้นและ LDL-C ลดลง

5. งดการสูบบุหรี่ บุหรี่ไม่มีผลต่อการเพิ่มระดับ LDL-C แต่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วม ที่จะทําให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นและระดับของ HDL-C ลดลง คาร์บอนมอนอกไซด์ในควันบุหรี่จะจับฮีโมโกลบิน ทําให้หัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

6. เพิ่มการกินผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี พบมากในผักที่มีสีส้ม แสด เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ กระเทียม หอม เป็นต้น สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดระดับไขมันในเลือด และป้องกัน LDL จาก การออกซิเดชัน จึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง

โรคความดันโลหิตสูง



 โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ 3-4 เท่า และโรคหลอดเลือดของสมอง 7 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 สําหรับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มม.ปรอท โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ทําให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงจะพบได้ในเพศชายมากกว่า เพศหญิงและพบเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยพบในเพศชายที่อายุ 25 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

1. ภาวะอ้วนและการขาดการออกกําลังกาย น้ําหนักมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิต ผู้ที่มีน้ําหนักเพิ่มขึ้นจะมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้น คนอ้วนจะมีการคั่งของโซเดียมอยู่ในร่างกายมาก 2. ความเครียด พบว่าความเครียดทําให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

3. การบริโภคสารอาหารโซเดียมมากเกินไป มีงานวิจัยจํานวนมากที่พบว่าปริมาณ โซเดียมในอาหารที่บริโภคมีความสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิต และการลดการบริโภคโซเดียม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้

4. การบริโภคไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่มาก

การป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

1. ลดน้ําหนักลง 10-15% ของน้ําหนัก

2. จํากัดปริมาณแอลกอฮอล์ (วิสกี้ 45 ซีซี ไวน์ 150 ซีซี หรือเบียร์ 2 กระป๋อง) 3. จํากัดโซเดียม 1.5 ถึง 2.5 กรัม/วัน (เกลือ 4 ถึง 6 กรัม) เพิ่มปริมาณกากใยอาหาร ให้มีปริมาณและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น โดยแนะนําให้บริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยพืช/ผัก/ผลไม้ ลดปริมาณไขมันจากสัตว์

4. ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

5. จัดการกับความเครียดที่เหมาะสม ควรใช้เครื่องเทศและสมุนไพรเหล่านี้ในการปรุงรสแทนการใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมสูง เช่น หอม กระเทียม กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบแมงลัก ใบสะระแหน่ รากผักชี พริกไทย ลูกผักชี ยี่หร่า อบเชย ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน ใบกระวาน กานพลู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางด้านระบาดวิทยาและการศึกษาทดลองหลายการศึกษา ที่พบความสัมพันธ์ระหว่างความดันโลหิตและเกลือแร่ แคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียม โดยพบความสัมพันธ์ทางลบระหว่างความดันโลหิตกับแคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียม การได้รับแคลเซียมสูงขึ้นอาจจะช่วยในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง การศึกษาทางด้าน ระบาดวิทยาพบความสัมพันธ์ทางลบของโพแทสเซียมกับความดันโลหิต แต่พบผลขัดแย้งกัน ในการทดลองทางคลินิก ถ้าได้รับโซเดียมจํานวนมากควรเพิ่มโพแทสเซียมด้วย เนื่องจากสัดส่วน ของโพแทสเซียม : โซเดียม ที่ทําให้ความดันโลหิตต่ําลง แมกนีเซียมยับยั้งการหดตัวของ กล้ามเนื้อลาย ช่วยขยายหลอดเลือด ซึ่งทําให้ระดับความดันโลหิตเป็นไปอย่างปกติ แต่ความ สัมพันธ์นี้ยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสรุปได้

สรุปการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงคือรักษาน้ําหนักตัวให้คงที่ ลดอาหารเค็ม

อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารที่แปรรูป รับประทานผักและผลไม้เป็นประจําเพื่อเพิ่ม ปริมาณโพแทสเซียมและใยอาหาร ควรบริโภคไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายตําแหน่ง ดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณที่เหมาะสม

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566

การควบคุมและดูแลรักษาสุขภาพของคนเป็นโรคเบาหวาน


1. อาหารคาร์โบไฮเดรตในการรักษาโรคเบาหวาน

•การจํากัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารน้อยกว่า 130 กรัมต่อวัน ไม่แนะนําในการรักษาโรคเบาหวาน (E)

• การติดตามประเมินการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต โดยใช้ วิธีการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate counting) และการใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยน (ภาคผนวก) ยังคงเป็นวิธีการหลักที่สําคัญที่ช่วยให้การควบคุมน้ําตาลได้ผลดี (A)การใช้อาหารที่มี glycemic index และ glycemic load จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นบ้าง ถ้าพิจารณาเฉพาะคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเพียงอย่างเดียว (B) ถ้าจะใช้อาหารที่มีน้ําตาล sucrose เป็นส่วนประกอบในแผนการรับประทานอาหารของผู้ที่เป็นเบาหวาน อาจใช้น้ําตาลแทนอาหารที่เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นได้และถ้ารับประทานน้ําตาลเพิ่มขึ้นอกเหนือจากแผนการรับประทานอาหารที่ได้กําหนดไว้ ควรปรับปริมาณอินซูลินที่ได้รับหรือยาที่รับประทานให้เพียงพอ และควรคํานึงถึงพลังงานที่อาจได้รับ มากเกินไปจากน้ําตาลด้วย (A)

• ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารให้หลากหลายเช่นเดียว กับคนปกติทั่วไป อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลเพียงพอที่จะแนะนําให้ผู้ที่เป็นโรค เบาหวานรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงกว่าคนปกติทั่วไป น้ําตาลแอลกอฮอล์และสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน (nonnutritive sweeteners) สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย

2. อาหารโปรตีนในการรักษาโรคเบาหวาน

ดังนั้นยังคงแนะนําให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีการทํางานของไตที่ยังปกติ ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ ที่จะแนะนําให้ลดปริมาณโปรตีนจากอาหารที่รับประทานตามปกติ รับประทานโปรตีนในปริมาณปกติคือ 15-20% ของพลังงานที่ได้รับ (E) ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับประทานโปรตีนไม่ทําให้ระดับของกลูโคส ในเลือดเพิ่มขึ้น แต่มีผลในการเพิ่มการตอบสนองของอินซูลินในเลือด ดังนั้นอาหารที่ให้โปรตีนจึงไม่ควรใช้ในการรักษาภาวะน้ําตาลต่ําเฉียบพลัน หรือป้องกันภาวะน้ําตาลต่ําในช่วงกลางคืน (A)

• อาหารที่มีโปรตีนสูงยังไม่แนะนําให้ใช้ในการลดน้ําหนักตัวในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากผลระยะยาวของการรับประทานโปรตีนมากกว่า 20% ของพลังงานที่ได้รับในการรักษา โรคเบาหวานและการเกิดภาวะแทรกซ้อนยังไม่ทราบแน่ชัด แม้ว่าการรับประทานโปรตีนสูง อาจช่วยลดน้ําหนักตัวได้ในระยะสั้นและทําให้คุมน้ําตาลได้ดีขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลที่บ่งถึงประโยชน์ ระยะยาวของการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

4. แอลกอฮอล์กับโรคเบาหวาน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์บ้าง ควรจํากัดการดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณปานกลางคือดื่มไม่เกิน 1 ดริ้งค์ต่อวันในผู้หญิง และไม่เกิน 2 ดริ้งค์ต่อวันในผู้ชาย (E): 1 ดริ้งค์ = ไวน์ 1 แก้ว (120 ซีซี), เบียร์ 1 ขวด (360 ซีซี), วิสกี้หรือเหล้า 1 ออนซ์ (30 ซีซี) เพื่อลดความเสี่ยงต่อการมีภาวะน้ําตาลต่ําในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ฉีดอินซูลินควรดื่มแอลกอฮอล์พร้อมอาหาร (E)

• ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ดื่มเฉพาะแอลกอฮอล์อย่างเดียวในปริมาณปานกลางจะไม่มี ผลทันทีต่อระดับน้ําตาลและอินซูลินแต่การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ (ใน mixed drink) อาจจะเพิ่มระดับน้ําตาลในเลือดได้ (B)

5. จุลสารอาหาร (Micronutrients) ในการรักษาโรคเบาหวาน ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนถึงประโยชน์ของการเสริมวิตามินและเกลือแร่ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่ได้มีการขาดสารอาหาร เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไป (A) การรับประทานวิตามินเสริมป็นประจําในกลุ่มของ antioxidants เช่น วิตามินอี วิตามินซี และแคโรทีน ยังไม่แนะนําให้รับประทานเสริม เนื่องจากยังขาดหลักฐานถึงประสิทธิผล และความปลอดภัยของการเสริมวิตามินเหล่านี้ในระยะยาว (A)

• ประโยชน์ของการรับประทานโครเมียมเสริมในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานยังไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงยังไม่แนะนําให้รับประทานโครเมียมเสริม (E)

6. โภชนบําบัดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรปรับอินซูลินให้เหมาะกับแผนการรับประทานอาหาร และการออกกําลังกายเฉพาะของแต่ละคน (E) ผู้ที่ใช้ rapid acting insulin โดยการฉีดหรือใช้อินซูลินปั้ม ควรปรับอินซูลินในมื้อ อาหารและอาหารว่างตามปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร (A) ผู้ที่ฉีดอินซูลิน fixed dose ทุกวัน ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตคงที่ในแต่ละวัน โดยปริมาณและเวลาที่รับประทานควรให้ใกล้เคียงกันทุกวัน (C)

• การออกกําลังกายที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ควรปรับปริมาณอินซูลินให้เหมาะสม กับชนิดของการออกกําลังกายและระดับน้ําตาล ถ้าออกกําลังกายโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน อาจต้องรับประทานคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น

7. โภชนบําบัดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิต โดยลดพลังงานจากอาหารที่รับประทานให้น้อยลง ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานซ์ คอเลสเตอรอล และโซเดียม รวมทั้งเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย/ออกกําลังกาย ซึ่งจะช่วยให้ ระดับน้ําตาล ไขมัน และความดันโลหิตดีขึ้น (E)

• การติดตามประเมินระดับน้ําตาลในเลือดจะเป็นสิ่งที่ใช้พิจารณาในการปรับอาหาร

และมื้ออาหารว่าเหมาะสมกับการควบคุมระดับน้ําตาลที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ หรืออาจจะต้อง ใช้ยาร่วมกับการใช้โภชนบําบัด (C)

ผู้สูงอายุที่อ้วนและเป็นโรคเบาหวาน การจํากัดพลังงานจากอาหารบ้างเล็กน้อย และการเพิ่มการเคลื่อนไหวและออกกําลังกาย อาจได้ประโยชน์ในการควบคุมน้ําหนักตัว (E) การเสริมวิตามินรวมทุกวัน อาจจะเหมาะสมในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารน้อยลง 

โรคเบาหวาน



โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย และมีแนวโน้มว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะเพิ่มมากขึ้นทุกปีในทุกกลุ่มอายุของคนไทย เป็นโรคที่มักพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่สิ่งที่ น่าวิตกมาก คือปัจจุบันอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานน้อยลง อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ในเด็กเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยสาเหตุใหญ่ของการเป็นเบาหวานเกิดจาก ปัญหาโรคอ้วน ซึ่งมีผลมาจากวิถีการดํารงชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไป ขาดการออกกําลังกายลดการทํากิจกรรมในชีวิตประจําวัน และพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป โรคเบาหวานเป็นโรคที่สัมพันธ์กับอาหาร อาหารจึงเป็นหัวใจสําคัญที่ช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเป็นสิ่งสําคัญในการดูแล รักษาโรคเบาหวาน ดังนั้นโภชนาการจึงมีบทบาทสําคัญทั้งในการควบคุมระดับน้ําตาล และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรเห็นความสําคัญของอาหารและโภชนาการ มีการเรียนรู้ เกี่ยวกับแบบแผนการบริโภคอาหาร การเลือกอาหารทั้งคุณภาพและปริมาณ สามารถดัดแปลง รายการอาหาร และปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สามารถอ่านฉลาก โภชนาการและเลือกซื้ออาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งสามารถดูแลตนเองได้ดี ซึ่งจะลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โภชนบําบัดทางการแพทย์ (Medical Nutrition Therapy : MNT) การรักษาโรคเบาหวานประกอบด้วย 1. การให้โภชนบําบัดทางการแพทย์ 2. การใช้ยา 3. การออกกําลังกาย และ 4. การให้ความรู้ด้านโภชนาการ โภชนบําบัดทางการแพทย์เป็น หลักการที่สําคัญและเป็นหลักการแรกในการป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน รวมทั้งป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ซึ่งโภชนบําบัดทางการแพทย์มีความสําคัญ

 เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน คือการรักษาสมดุลของน้ําตาลในเลือดให้ ใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดปกติของไขมันในเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตเรื้อรัง ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของการให้โภชนบําบัดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงมุ่งเน้นให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับโภชนาการที่เหมาะสมกับภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล ได้รับ ความรู้ในการปฏิบัติตัวด้านอาหารได้อย่างถูกต้อง สามารถประมาณปริมาณอาหาร สามารถดัดแปลงและกําหนดแบบแผนการบริโภคอาหารของตนเองได้อย่างเหมาะสม จุดมุ่งหมายของการรักษาด้วยโภชนบําบัดทางการแพทย์สําหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน (pre-diabetes) เพื่อลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือด หัวใจ โดยส่งเสริมให้เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ร่วมกับการออกกําลังกาย เพื่อลดน้ําหนักตัวให้ได้อย่างต่อเนื่อง

จุดมุ่งหมายของการรักษาด้วยโภชนบําบัดทางการแพทย์สําหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

1. เพื่อควบคุมและรักษา

-ระดับน้ําตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงกับระดับปกติเท่าที่จะทําได้

-ระดับไขมันในเลือดเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

-ระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงกับระดับปกติเท่าที่จะทําได้ 2. เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน โดยการปรับการรับประทานอาหารและปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิต

2. เพื่อตระหนักถึงความต้องการด้านโภชนาการเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย โดยคํานึงถึ ตัวบุคคล วัฒนธรรม ความต้องการ ความชอบ และความเต็มใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3. เพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความสุขกับการรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงหรือจํากัดเฉพาะอาหารที่มีผลต่อโรคเบาหวาน ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มี การที่จะวางแผนและให้โภชนบําบัดได้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแต่ละคนนั้น ควรมีการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานก่อน รวมทั้งประเมิน อาหารที่บริโภค เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการให้โภชนบําบัด และการให้คําปรึกษาแนะนํา ต่อไป โดยรวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้

คาร์โบไฮเดรต

รูปแบบและลักษณะของอาหารที่บริโภคตามปกติพลังงานที่ได้รับจากอาหารและการกระจายตัวของโปรตีน ไขมัน และการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง

ปริมาณไขมันและชนิดของไขมันที่บริโภค

ปริมาณใยอาหารที่บริโภค

การบริโภคผัก ผลไม้ ข้าว-ธัญพืชที่ไม่ขัดสี

การบริโภคถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้ง การบริโภคน้ําตาลและปริมาณน้ําตาลที่บริโภค

อาหารกระป๋อง

การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารเค็มจัด อาหารหมักดอง อาหารสําเร็จรูป

ความถี่ของการรับประทานอาหารนอกบ้าน

การรับประทานวิตามินและเกลือแร่เสริม

การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่

ประสิทธิภาพของการให้โภชนบําบัดทางการแพทย์

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน (pre-diabetes) หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรได้รับการดูแลด้านโภชนบําบัดทางการแพทย์ที่เหมาะสม และเฉพาะสําหรับแต่ละคน (individualized MNT) ซึ่งเป็นบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงของนักกําหนดอาหาร ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในการดูแลด้านโภชนาการและโภชนบําบัด (B)

การให้ความรู้และคําแนะนําปรึกษาในด้านอาหารและโภชนาการแก่ผู้ที่มีความ เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรให้เหมาะสม ตรงกับความต้องการ ของผู้ป่วยแต่ละคน ผู้ป่วยมีความเต็มใจในการปรับเปลี่ยน และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นั้นๆ ได้